RPA SAP

RPA กับ SAP

การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนธุรกิจในยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบ RPA (Robotic Process Automation) เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ และเมื่อนำมาใช้ร่วมกับระบบ SAP (Systems, Applications, and Products in Data Processing) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลขององค์กร ไม่ว่าจะเป็น ลดเวลาในการทำงาน ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้อีกด้วย

SAP คืออะไร

SAP คือซอฟต์แวร์ ERP ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและบริหารจัดการกระบวนการต่างๆ ในธุรกิจให้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยข้อมูลเหล่านั้นจะถูกเก็บรวบรวมจากแผนกต่างๆ ได้แก่ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายการผลิต เป็นต้น นอกจากนี้ SAP ยังมีฟังก์ชัน หรือโมดูลต่างๆ ที่สำคัญและเป็นที่นิยม ตัวอย่างเช่น FICO (Financial Accounting and Controlling) ช่วยจัดการด้านการเงินและบัญชี, MM (Materials Management) ใช้ในจัดการห่วงโซ่อุปทาน Supply Chain, CRM (Customer Relationship Management) บริหารจัดการข้อมูลลูกค้า เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ RPA ร่วมกับ SAP

การใช้งานระบบ RPA ร่วมกับ SAP ช่วยให้การจัดการข้อมูลในระบบเป็นกระบวนการทำงานอัตโนมัติ ข้อมูลไม่เกิดข้อผิดพลาด ไร้รอยต่อ เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

ตัวอย่างกระบวนการทำงานที่ใช้ RPA ร่วมกับ SAP

  • RPA ดึงข้อมูลจากใบแจ้งหนี้แล้วนำมากรอกในระบบ SAP อัตโนมัติ แต่ถ้าใบแจ้งหนี้นั้นเป็นเอกสารสแกน หรือไฟล์รูปภาพ สามารถนำระบบ OCR จาก Orange Vision Form+ มาทำงานร่วมกัน เพื่อแปลงเอกสารสแกนหรือไฟล์รูปภาพเป็นข้อความที่กรอกลงระบบ SAP ได้
  • การกรอกข้อมูลคำสั่งซื้อ แก้ไขคำสั่งซื้อ และติดตามสถานะคำสั่งซื้อได้แบบเรียลไทม์ ทุกกระบวนการทำงานเหล่านี้เป็นอัตโนมัติด้วยระบบ RPA โดยทำงานร่วมกับ SAP ที่ใช้โมดูล SAP Materials Management เป็นโมดูลที่ครอบคลุมทางด้านบริหารจัดการการสั่งซื้อและควบคุมสินค้าคงคลัง

สนใจโปรแกรม RPA ของ KSP AsiaFIN คลิกอ่านรายละเอียด

การใช้งาน RPA ร่วมกับ SAP

การประยุกต์ใช้ระบบ RPA และ SAP กับธุรกิจต่างๆ

การประยุกต์ใช้ RPA ร่วมกับ SAP ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมการเงิน ธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น

SAP กับธุรกิจการเงิน

SAP FICO เป็นโมดูลสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมการเงิน และเป็นโมดูลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับระบบ SAP ซึ่งการทำงานร่วมกันระหว่าง RPA และ SAP ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ธุรกิจการเงินเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ประมวลผลใบแจ้งหนี้, การปิดบัญชี, การจัดการบัญชีเจ้าหนี้, จัดการภาษี และติดตามการชำระเงิน เป็นต้น

SAP การผลิต

SAP PP (Production Planning) เป็นโมดูลที่นิยมใช้ใน Manufacturing ตัวอย่างการใช้งาน RPA ร่วมกับ SAP ในอุตสาหกรรมการผลิต

  • RPA ดึงประวัติการผลิตและความต้องการสินค้าจากในระบบ SAP PP เพื่อวางแผนการผลิตให้เหมาะสม
  • อัปเดตสถานะการผลิตในระบบ SAP แบบเรียลไทม์ เพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงความคืบหน้าการผลิต
  • ควบคุมวัตถุดิบในสินค้าคงคลัง ถ้าอยู่ในปริมาณที่ต่ำกว่าเกณฑ์ RPA จะทำการสั่งซื้อวัตถุดิบอัตโนมัติ

SAP กับธุรกิจค้าปลีก

อุตสาหกรรมค้าปลีกส่วนใหญ่นิยมติดตั้งโมดูล SAP SD (Sales and Distribution) เพื่อใช้ในการจัดการการขายและการกระจายสินค้า แต่ถ้านำระบบ RPA มาทำงานร่วมกับ SAP จะช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกจัดการงานที่ซ้ำซ้อนให้เป็นอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น การทำใบเสนอราคาอัตโนมัติ, ติดตามสถานะการจัดส่งและแจ้งให้ลูกค้าทราบแบบเรียลไทม์, จัดทำใบแจ้งหนี้อัตโนมัติ พร้อมทั้งติดตามการชำระเงินและอัปเดตสถานะการชำระเงินในระบบ SAP ทันที

ข้อดีของการใช้ RPA SAP

ข้อดีของการใช้ RPA SAP

  • ทำงานรวดเร็ว: ช่วยให้กระบวนการทำงานต่างๆ บนระบบ SAP เสร็จอย่างรวดเร็ว
  • ลดความผิดพลาด: RPA ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้โดยอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลถูกต้องแม่นยำ
  • ลดเวลาการทำงาน: งานบางขั้นตอนที่เคยใช้เวลาหลายชั่วโมง เสร็จเพียงไม่กี่นาที
  • ข้อมูลโปร่งใส ตรวจสอบง่าย: ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์