Six Sigma

Six Sigma คือ แนวทางการบริหารคุณภาพที่มุ่งเน้นการลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการโดยใช้หลักการทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ แนวคิดนี้พัฒนาขึ้นโดย Motorola ในช่วงปี 1980 และได้รับความนิยมในองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความคลาดเคลื่อนของกระบวนการให้อยู่ในระดับ 3.4 ข้อผิดพลาดต่อล้านโอกาส ทำให้เกิดสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพสูงและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า

Six Sigma อาศัยเครื่องมือทางสถิติและกรอบการทำงานที่เป็นระบบ เช่น DMAIC สำหรับการปรับปรุงกระบวนการที่มีอยู่ และ DMADV สำหรับการออกแบบกระบวนการใหม่ โดยแนวทางนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิต การแพทย์ การเงิน โลจิสติกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักการ Lean Six Sigma

Lean Six Sigma เป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดของ Lean Manufacturing และ Six Sigma โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการ ลดของเสีย และเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า การรวมกันของสองแนวคิดนี้ช่วยให้องค์กรสามารถ เพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุน และปรับปรุงความเร็วในการดำเนินงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Lean Six Sigma จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างแข็งแกร่งและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว

กระบวนการ DMAIC ปรับปรุงกระบวนการที่มีอยู่

กระบวนการใน Six Sigma

ภายใต้แนวคิดนี้ Six Sigma ประกอบด้วยสองกระบวนการหลัก ได้แก่ DMAIC ซึ่งใช้สำหรับปรับปรุงกระบวนการที่มีอยู่ และ DMADV ซึ่งใช้สำหรับออกแบบกระบวนการใหม่

กระบวนการ DMAIC ปรับปรุงกระบวนการที่มีอยู่

DMAIC เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ Define, Measure, Analyze, Improve และ Control ซึ่งช่วยระบุปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ ปรับปรุงกระบวนการ และควบคุมคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

Define (กำหนดปัญหาและเป้าหมาย)

การระบุปัญหาและกำหนดเป้าหมายของการปรับปรุงกระบวนการอย่างชัดเจน โดยต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าและเป้าหมายขององค์กร พร้อมทั้งกำหนดขอบเขตขององค์กร

Measure (วัดผลและรวบรวมข้อมูล)

เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปัจจุบัน โดยใช้เครื่องมือทางสถิติเพื่อระบุประสิทธิภาพของกระบวนการ ข้อมูลที่ได้รับจะช่วยให้เห็นภาพรวมของปัญหา

Analyze (วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา)

วิเคราะห์เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา โดยใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการ การวิเคราะห์นี้จะช่วยให้ออกแบบแนวทางการปรับปรุงที่ดีที่สุด

Improve (ปรับปรุงกระบวนการ)

ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการโดยแก้ไขข้อบกพร่องที่พบ อาจใช้แนวทาง Lean Six Sigma เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ ทั้งนี้ควรมีการทดสอบแนวทางใหม่ก่อนนำไปใช้จริง

Control (ควบคุมและรักษามาตรฐานใหม่)

การควบคุมและรักษามาตรฐานของกระบวนการที่ได้รับการปรับปรุง เพื่อให้แน่ใจว่าปัญหาจะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก โดยอาจกำหนดแนวทางการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการ DMADV ออกแบบกระบวนการใหม่

กระบวนการ DMADV ออกแบบกระบวนการใหม่

DMADV เป็นแนวทางที่ใช้สำหรับการออกแบบกระบวนการใหม่หรือพัฒนาสินค้าใหม่ให้มีคุณภาพสูงสุด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ Define, Measure, Analyze, Design และ Verify โดยเน้นการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ออกแบบโซลูชันที่เหมาะสม และทดสอบความเป็นไปได้ของกระบวนการใหม่

Define

การกำหนดขอบเขตของโครงการอย่างชัดเขน ระบุว่าต้องการออกแบบกระบวนการหรือสินค้าใหม่เพื่ออะไร และใครคือกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง

Measure

หลังจากกำหนดขอบเขตของโครงการเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการออกแบบ

Analyze

วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวัดผล เพื่อตรวจสอบปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบกระบวนการใหม่ โดยมุ่งเน้นการระบุข้อจำกัด ความเสี่ยง และโอกาสการปรับปรุง

Design

การพัฒนากระบวนการใหม่ให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนด โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ ความเป็นไปได้ และการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งาน

Verify

ประเมินความถูกต้องและประสิทธิภาพของกระบวนการที่ออกแบบใหม่ เพื่อยืนยันว่าสามารถดำเนินงานได้จริงและให้ผลลัพธ์ตามที่กำหนดไว้

เครื่องมือของ Six Sigma

  1. Pareto Chart แผนภูมิพาเรโตเป็นเครื่องมือที่ช่วยระบุปัญหาที่สำคัญที่สุดโดยใช้หลักการ 80% ของปัญหามักเกิดจาก 20% ของสาเหตุ
  2. Fishbone Diagram แผนภาพก้างปลาใช้ในการระบุและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา โดยแบ่งปัจจัยออกเป็นหมวดหมู่ดังนี้ คน, เครื่องจักร, วิธีการ, วัสดุ, การวัด และสภาพแวดล้อม
  3. Control Charts แผนภูมิควบคุมคุณภาพช่วยติดตามความผันแปรของกระบวนการผลิตหรือการให้บริการในช่วงเวลาต่างๆ
  4. Histogram เป็นกราฟแทงที่ใช้แสดงการกระจายตัวของข้อมูล โดยใช้แกน X แสดงค่าของข้อมูล และแกนตั้ง Y แสดงความถี่ของข้อมูลที่อยู่ในช่วงนั้น
เครื่องมือ Six Sigma
ประโยชน์ของ Six Sigma

ประโยชน์ของ Six Sigma

  1. ลดข้อผิดพลาดและเพิ่มคุณภาพของกระบวนการผลิตและการบริการ
  2. ลดต้นทุนในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น การผลิตซ้ำ, ของเสีย, การคืนสินค้า และการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น
  3. ช่วยให้สินค้าหรือบริการตรงตามความต้องการของลูกค้า ลดข้อร้องเรียน และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
  4. Six Sigma ช่วยให้องค์กรเข้าใจปัญหาในกระบวนการทำงาน และปรับปรุงให้คล่องตัวมากขึ้น
  5. ใช้วิธีการเชิงสถิติ เช่น DMAIC เพื่อให้การตัดสินใจตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ลดการใช้ความรู้สึกหรือการคาดเดา
  6. ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การนำ Six Sigma ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ

  1. อุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ใช้ Six Sigma มากที่สุด เนื่องจากมีความจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพของสินค้า ลดอัตราของเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพของสายการผลิต
  2. การนำ Six Sigma มาใช้ในโรงพยาบาลเพื่อลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย ปรับปรุงกระบวนการวินิจฉัยโรค และลดข้อผิดพลาดในการให้บริการทางการแพทย์
  3. บริษัทประกันภัย ใช้ Six Sigma เพื่อลดระยะเวลาในการดำเนินการพิจารณาสินไหม ปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการลูกค้า และลดข้อร้องเรียนจากผู้ใช้บริการ
การนำ Six Sigma ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ

Six Sigma กับ RPA

Six Sigma

  • วัตถุประสงค์หลัก ลดความผันแปรของกระบวนการ และเพิ่มคุณภาพการทำงาน
  • แนวทางการทำงาน ใช้เครื่องมือทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น DMAIC, FMEA, SPC
  • ผลลัพธ์ที่ได้ กระบวนการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดข้อผิดพลาด และปรับปรุงคุณภาพ
  • ลักษณะการใช้งาน เหมาะกับกระบวนการที่ต้องการการวิเคราะห์เชิงลึก และการปรับปรุงคุณภาพในระยะยาว

RPA

  • วัตถุประสงค์หลัก ลดเวลาในทำงานที่ซ้ำซ้อน และเพิ่มประสิทธิการทำงาน
  • แนวทางการทำงาน ใช้ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์อัตโนมัติทำงานแทนพนักงานในกระบวนการที่ซ้ำซ้อน
  • ผลลัพธ์ที่ได้ ลดต้นทุน เพิ่มความเร็ว และลดความผิดพลาดในการทำงาน
  • ลักษณะการใช้งาน เหมาะกับงานที่ทำเป็นประจำ และมีขั้นตอนที่สามารถกำหนดได้ชัดเจน

ตัวอย่างการใช้ RPA และ Six Sigma เสริมกันอย่างไร

กระบวนการจัดการเอกสารในธุรกิจการเงิน: ธนาคารใช้เวลาในการประมวลผลเอกสารการสมัครสินเชื่อเป็นเวลานาน และมีข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูล ใช้ Six Sigma เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และใช้ RPA ป้อนข้อมูลที่ได้จากเอกสารลงในระบบอัตโนมัติ

การปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อ: ฝ่ายจัดซื้อเสียเวลากับการออกใบสั่งซื้อ (PO) และมีข้อผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลบ่อยครั้ง ใช้ Six Sigma วิเคราะห์โอกาสที่เกิดข้อผิดพลาด และใช้ RPA จัดทำใบสั่งซื้ออัตโนมัติ

แนะนำบทความที่น่าสนใจ

การปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

ลดต้นทุน (Cost reduction)

การพัฒนารูปแบบการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ และช่วยลดข้อผิดพลาด

บทความการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ประสิทธิภาพการทำงาน

การพัฒนากระบวนการทำงานและบุคลากรเพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด

การลดความผิดพลาดในงานสำคัญอย่างไร

ลดความผิดพลาด

การลดความผิดพลาดช่วยให้กระบวนการทำงานมีความต่อเนื่อง

การปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

การปรับปรุงกระบวนการ

การพัฒนารูปแบบการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ และช่วยลดข้อผิดพลาด