การดึงข้อมูล (Data Extraction) และ Data Retrieval แตกต่างกันด้านการใช้งานและกระบวนการทำงาน โดย Data Extraction เป็นการดึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น ฐานข้อมูล, เว็บไซต์, ไฟล์เอกสาร หรือ API เพื่อแปลงข้อมูลและนำไปใช้งานต่อ ขณะที่ Data Retrieval เป็นกระบวนการเรียกค้นข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบ เช่น ฐานข้อมูล หรือ Search Engine เพื่อนำมาใช้งานโดยตรง เครื่องมือที่ใช้สำหรับ Data Extraction ได้แก่ ETL, Web Scraping, OCR และ RPA ส่วน Data Retrieval ใช้ SQL Queries, API Calls และ Search Engines การเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับว่าต้องการดึงข้อมูลใหม่หรือค้นหาข้อมูลที่จัดเก็บไว้เพื่อการวิเคราะห์และการตัดสินใจ
การดึงข้อมูล หรือ Data Extraction คือ กระบวนการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น ฐานข้อมูล (Database), ไฟล์ Excel, ไฟล์เอกสาร, API และเว็บไซต์ นำไปใช้ในการวิเคราะห์หรือประมวลผล โดยการดึงข้อมูลสามารถทำได้ด้วยตนเองหรือใช้เครื่องมือในการดึงขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูลและความซับซ้อน
การดึงข้อมูลมีความสำคัญเพราะช่วยให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจในหลายด้าน เช่น ธุรกิจการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูลแบบดั้งเดิม การใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และการคาดการณ์แนวโน้มต่างๆ ธุรกิจที่ใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพสามารถปรับตัวให้เข้ากับตลาดได้ดียิ่งขึ้น
การดึงข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูลและความซับซ้อนของข้อมูล หลักๆ สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ได้แก่ การดึงข้อมูลแบบแมนนวล (Manual) และการดึงข้อมูลแบบอัตโนมัติ การเลือกใช้วิธีการดึงที่เหมาะสมช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การดึงข้อมูลแบบ Manual คือการที่ผู้ใช้งานคัดลอกข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น การคัดลอกจากเว็บไซต์ หรือฐานข้อมูล และนำไปบันทึกในไฟล์ Word หรือ Excel วิธีนี้เหมาะสำหรับการดึงข้อมูลที่มีปริมาณน้อย ต้องการความละเอียดสูง
การดึงข้อมูลแบบอัตโนมัติโดยการเขียนโค้ด เขียนสคริปต์ หรือการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อดึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ อัตโนมัติ เหมาะสำหรับการดึงข้อมูลที่มีปริมาณมากๆ และต้องการให้ข้อมูลอัปเดตสม่ำเสมอ
Data Retrieval คือกระบวนการค้นหาและดึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในแหล่งข้อมูล เช่น ฐานข้อมูล ระบบไฟล์ หรือคลังข้อมูล เพื่อนำมาแสดงผลหรือใช้งานตามวัตถุประสงค์ กระบวนการนี้มักเกี่ยวข้องกับการใช้คำสั่งค้นหา (Query) เช่น SQL ในการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล หรือการใช้ระบบค้นหาข้อมูล เช่น Search Engine ในการดึงข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต Data Retrieval มุ่งเน้นการเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่แล้วโดยไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของข้อมูล ซึ่งแตกต่างจาก Data Extraction ที่เน้นการนำข้อมูลออกจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปใช้งานต่อ
ระบบที่สามารถเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมากและนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ Machine Learning
การรวมเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ใช้จัดการเอกสารหลากหลายรูปแบบ Intelligent Document Processing
ที่อยู่
43 อาคารไทยซีซี ทาวเวอร์ ชั้นที่ 11 ห้องเลขที่ 111
ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา
เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
Copyright © 2025 KSP AsiaFIN Co., Ltd. All Rights Reserved.