OCR ภาษาไทย

OCR ภาษาไทย

OCR ภาษาไทย คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยแปลงข้อความภาษาไทยที่อยู่ในรูปภาพหรือเอกสารสแกนให้เป็นข้อความที่สามารถใช้งานหรือแก้ไขได้ เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ได้กับหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น การศึกษา ธุรกิจ หรือแม้กระทั่งใช้กับงานราชการ ระบบ OCR ที่ดีจะช่วยลดเวลาการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพ และลดข้อผิดพลาดจากการกรอกข้อมูล การใช้งาน OCR ไม่เพียงแต่จะช่วยแปลงเอกสารเป็นดิจิทัล แต่ถ้าใช้งานร่วมกับ RPA สามารถนำข้อมูลที่ได้จาก OCR ไปกรอกลงระบบอื่นอัตโนมัติ

ข้อดีของการใช้ OCR ภาษาไทย

  1. OCR รองรับตัวอักษรไทยที่มีความซับซ้อนด้านวรรณยุกต์ สระบนล่าง และตัวอักษรที่มีขนาดแตกต่างกันได้อย่างแม่นยำ
  2. สามารถอ่านเอกสารที่มีตัวอักษรภาษาไทยได้หลากหลาย แต่ต้องเป็นฟอนต์ที่มีรูปแบบมาตรฐาน เช่น TH Sarabun, Angsana เป็นต้น
  3. OCR ภาษาไทยสามารถใช้กับเอกสาราชการได้ เช่น บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน, ใบขับขี่ และหนังสือรับรองต่างๆ
  4. สามารถแปลงเอกสารที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในหน้าเดียวกันได้
ข้อดีของการใช้ OCR ภาษาไทย
OCR ภาษาไทยรองรับไฟล์ประเภทใดบ้าง

รองรับไฟล์ประเภทใดบ้าง

OCR ภาษาไทยสามารถรองรับไฟล์ได้หลากหลายประเภท ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถดึงข้อความจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายได้อย่างสะดวก ไฟล์ที่รองรับมีดังนี้

  • ไฟล์ภาพ JPEG, PNG, TIFF – เป็นไฟล์ภาพทั่วไปที่ใช้กับกล้องดิจิทัล โทรศัพท์มือถือ และเครื่องสแกน
  • ไฟล์เอกสาร PDF – รองรับ PDF ที่เป็นรูปภาพ ไฟล์ประเภทนี้มักถูกสแกนเอกสารและแปลงเป็นรูปแบบ PDF
  • ไฟล์ Screenshots ภาพหน้าจอ – OCR ดึงข้อความจากภาพหน้าจอของเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือเอกสารที่แสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์

เอกสารทางธุรกิจที่ OCR ภาษาไทยรองรับ

เทคโนโลยี OCR ภาษาไทยมีความสำคัญอย่างยิ่งในภาคธุรกิจ เนื่องจากช่วยให้สามารถแปลงเอกสารที่เป็นกระดาษหรือไฟล์ภาพให้เป็นข้อมูลดิจิทัลที่สามารถค้นหาและแก้ไขได้ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล ตัวอย่างเอกสารที่สามารถนำมาใช้กับ OCR ภาษาไทย ได้แก่

บัญชีและการเงิน

  • ใบแจ้งหนี้
  • ใบเสร็จรับเงิน
  • หนังสือรับรอง หัก ณ ที่จ่าย

ทรัพยากรบุคคล

  • ใบสมัครงาน
  • สัญญาจ้างงาน
  • ใบลางาน

การตลาด

  • โบวชัวร์และแคตตาล็อก
  • รายงานการวิเคราะห์การตลาด
  • แผนการตลาด

ฝ่ายจัดซื้อ

  • ใบขอซื้อ (PR)
  • ใบสั่งซื้อ (PO)
  • สัญญากับผู้ขาย

OCR ภาษาไทยกับเอกสารราชการ

การนำ OCR มาใช้กับเอกสารราชการยังช่วยให้การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การสแกนสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน หรือเอกสารสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ OCR ที่รองรับภาษาไทยต้องสามารถอ่านตัวอักษรที่มีเอกลักษณ์ เช่น วรรณยุกต์ หรือพยัญชนะซ้อน เพื่อให้การแปลงข้อมูลมีความแม่นยำสูง ระบบ OCR ที่ดีสามารถรองรับฟอนต์ราชการที่ใช้บ่อยๆ เช่น TH Sarabun PSK

OCR ภาษาไทยรองรับเอกสารราชการประเภทใด

OCR ภาษาไทยรองรับเอกสารราชการประเภทใด

บัตรประจำตัวและทะเบียนราษฎร์

  • บัตรประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน
  • ใบขับขี่
  • หนังสือเดินทาง (Passport)

เอกสารด้านกฎหมายและนิติกรรม

  • ทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า
  • สัญญาราชการ / ข้อตกลงทางกฎหมาย
  • หนังสือรับรองบริษัท / หนังสือรับรองนิติบุคคล

ข้อจำกัดของ OCR ภาษาไทยกับเอกสารราชการ

ฟอนต์ที่แตกต่างจากมาตรฐาน – เอกสารราชการบางฉบับใช้ฟอนต์เฉพาะ ซึ่งอาจทำให้ OCR บางโปรแกรมไม่สามารถอ่านหรือแปลงข้อความได้อย่างถูกต้อง

คุณภาพเอกสารไม่ดี – เอกสารที่เก่า มีรอยเปื้อน หรือถ่ายภาพจากมุมเอียง อาจทำให้ OCR ไม่สามารถแยกตัวอักษรได้อย่างถูกต้อง

การอ่านตราประทับและลายเซ็น – เอกสารราชการมักมีตราประทับ ลายเซ็น หรือสัญลักษณ์พิเศษที่ OCR ไม่สามารถแปลงเป็นข้อความได้

ข้อจำกัดด้านลายมือ – เอกสารราชการบางฉบับมีข้อความที่เขียนด้วยมือ ซึ่ง OCR ยังมีปัญหาในการจดจำและแปลงเป็นข้อความที่ถูกต้อง

วิธีเพิ่มความแม่นยำ OCR ภาษาไทยกับเอกสารราชการ

  • เลือกซอฟต์แวร์ที่รองรับภาษาไทย – ใช้ OCR ที่ออกแบบมาสำหรับภาษาไทยโดยเฉพาะ เช่น Orange Vision Form+ ที่พัฒนาโดยคนไทยและบริษัท AsiaFIN จากมาเลเซีย
  • ใช้เอกสารต้นฉบับที่มีคุณภาพสูง – หากเป็นไฟล์สแกน ควรใช้ความละเอียดอย่างน้อย 300 DPI เพื่อให้ตัวอักษรคมชัด
  • ปรับแต่งภาพก่อนทำ OCR – ใช้โปรแกรมแต่งภาพช่วยลบรอยเปื้อน ปรับแสง และทำให้ตัวอักษรชัดเจนขึ้นก่อนนำไปแปลง
  • ตั้งค่าการแยกคำและเว้นวรรคให้ถูกต้อง – ซอฟต์แวร์ OCR บางโปรแกรมมีฟังก์ชันช่วยตรวจเช็คและปรับแต่งแยกคำในภาษาไทยเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการแปลงข้อความ

ดูรายละเอียดซอฟต์แวร์ OCR ของเรา KSP ASIAFIN

วิธีเพิ่มความแม่นยำ OCR ภาษาไทยกับเอกสารราชการ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ OCR ภาษาไทย

ปัจจุบัน OCR ภาษาไทยยังมีข้อจำกัดในการอ่านลายมือ โดยเฉพาะลายมือที่ไม่เป็นระเบียบ หรือมีความแตกต่างของตัวอักษรระหว่างแต่ละบุคคล เทคโนโลยีที่ใช้ OCR ทั่วไปมักได้รับการออกแบบมาสำหรับการแปลงตัวพิมพ์มากกว่าตัวเขียนด้วยมือ ทำให้การจดจำลายมือยังคงมีความแม่นยำต่ำ

สามารถใช้ OCR กับเอกสารที่เป็นไฟล์ภาพถ่ายได้ แต่คุณภาพของผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความคมชัดของภาพ, มุมมองการถ่าย, แสงเงา และฟอนต์ของตัวอักษรในเอกสาร หากภาพถ่ายมีความคมชัดเพียงพอ และตัวอักษรอยู่ในตำแหน่งที่ชัดเจน OCR ก็สามารถแปลงข้อมูลออกมาได้อย่างถูกต้อง แต่หากภาพมีปัญหา เช่น เบลอ มีแสงสะท้อน หรือมีเงาบดบังข้อความ อาจทำให้การแปลงตัวอักษรผิดพลาด

OCR ภาษาไทยไม่ได้รองรับฟอนต์ไทยทั้งหมด แม้ว่าซอฟต์แวร์ OCR บางตัวจะสามารถอ่านฟอนต์มาตรฐาน เช่น TH Sarabun, Cordia, Angsana และฟอนต์อื่น ๆ ที่ใช้ในเอกสารทั่วไปได้ดี แต่ถ้าเป็นฟอนต์เฉพาะทาง หรือฟอนต์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เช่น ฟอนต์ลายมือ ฟอนต์ตกแต่ง การแปลงเป็นข้อความอาจจะไม่สมบูรณ์ เกิดข้อผิดพลาด

เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง

OCR ใช้กับใบแจ้งหนี้

ดึงข้อมูลในใบแจ้งหนี้ด้วย OCR

แผนกบัญชีมีงานที่เกี่ยวข้องกับใบ Invoice เป็นจำนวนมาก แต่ถ้ากรอกเอกสารทีละใบลงในระบบ อาจจะต้องใช้เวลา ใช้ทรัพยากรจำนวนมาก

อ่านต่อได้ที่ OCR ใบแจ้งหนี้

ocr ใช้กับใบเสร็จ

ดึงข้อมูลในใบเสร็จด้วย OCR

ลดการกรอกข้อมูลจากเอกสาร Receipt และใบกำกับภาษี ช่วยให้การบันทึกค่าใช้จ่ายเป็นไปอย่างง่ายดาย ข้อมูลที่สามารถดึงได้

อ่านต่อได้ที่ OCR ใบเสร็จ