OCR ใบเสร็จ

OCR ใบเสร็จ

OCR ใบเสร็จ คือ เทคโนโลยีที่ช่วยแปลงข้อมูลจากใบเสร็จให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลโดยอัตโนมัติ ช่วยให้ระบบสามารถอ่านและดึงข้อมูลที่สำคัญ เช่น วันที่ รายการสินค้า จำนวนเงิน และภาษี ได้อย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีนี้ใช้หลักการแยกตัวอักษรจากภาพโดยอาศัยการประมวลผลด้วยซอฟต์แวร์ ซึ่งช่วยลดภาระในการบันทึกข้อมูลด้วยมือ 

ข้อมูลที่ได้จาก OCR ใบเสร็จ

OCR ใบเสร็จสามารถดึงข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การบัญชี การจัดการค่าใช้จ่าย และการวิเคราะห์ทางธุรกิจ โดยทั่วไป OCR จะดึงข้อมูลที่สำคัญจากใบเสร็จ ประกอบด้วย

ข้อมูลพื้นฐานของใบเสร็จ

ชื่อร้านค้า – ชื่อบริษัทหรือร้านค้าที่ออกใบเสร็จ
ที่อยู่ร้านค้า – ที่ตั้งของร้านค้า ซึ่งอาจรวมถึงสาขา
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี – หมายเลขภาษีของร้านค้า

รายละเอียดการซื้อขายใบเสร็จ

วันที่และเวลาที่ซื้อสินค้า – เวลาที่ออกใบเสร็จ
รายการสินค้า/บริการ – รายการที่ซื้อ, จำนวน และราคาต่อหน่วย
ราคารวมแต่ละรายการ – คำนวณราคาตามจำนวนสินค้า
ส่วนลดหรือโปรโมชั่น – ส่วนลดที่ใช้กับสินค้าแต่ละรายการหรือส่วนลดทั้งบิล

ข้อมูลทางการเงินในใบเสร็จ

ยอดรวมก่อนภาษี – มูลค่าของสินค้าก่อนคำนวณภาษี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) – อัตราภาษีและจำนวนภาษีที่เรียกเก็บ
ยอดรวมสุทธิ – จำนวนเงินสุดท้ายที่ต้องชำระ
วิธีการชำระเงิน – เงินสด, บัตรเครดิต, โอนเงิน หรือกระเป๋าเงินดิจิทัล

ข้อมูลอื่นๆ ในใบเสร็จ (ถ้ามี)

เลขที่ใบเสร็จ – หมายเลขที่ใช้ระบุใบเสร็จเฉพาะ
เลขที่อ้างอิงการชำระเงิน – หากชำระผ่านบัตรหรือโอนเงิน
ชื่อผู้ซื้อ (กรณีใบเสร็จแบบเต็มรูปแบบ) – เช่น กรณีใบกำกับภาษี
QR Code หรือ Barcode – สำหรับตรวจสอบหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนการทำงานของ OCR ใบเสร็จ

กระบวนการ OCR ใบเสร็จสามารถแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยมีรายละเอียดดังนี้

OCR การนำเข้าภาพใบเสร็จ การปรับปรุงคุณภาพ

การนำเข้าภาพใบเสร็จ

OCR เริ่มต้นจากการรับข้อมูลใบเสร็จที่อยู่ในรูปแบบภาพหรือเอกสารสแกน ซึ่งสามารถมาจาก

  • การถ่ายภาพใบเสร็จด้วยโทรศัพท์มือถือ
  • การสแกนใบเสร็จด้วยเครื่องสแกน
  • การนำเข้าจากอีเมลหรือไฟล์ PDF

การปรับปรุงคุณภาพใบเสร็จ

ก่อนที่ OCR จะเริ่มอ่านตัวอักษร ระบบจะต้องปรับปรุงคุณภาพของภาพใบเสร็จ เช่น

  • การแปลงเป็นขาวดำ: ลดความซับซ้อนของภาพให้เหลือเฉพาะข้อความ
  • การปรับความคมชัด: เพื่อลดการเบลอและทำให้ตัวอักษรชัดเจนขึ้น
  • การจัดแนวใบเสร็จ: ปรับเอกสารให้ตรงเพื่อลดความผิดพลาดจากการเอียงของภาพ
OCR อ่านตัวอักษรจากใบเสร็จ จัดรูปแบบข้อมูล

OCR จะทำการอ่านตัวอักษรจากภาพและแปลงเป็นข้อความ

ระบบจะใช้ AI และ Machine Learning เพื่อแยกข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ เช่น

  • ชื่อร้านค้า: ดึงชื่อธุรกิจจากหัวใบเสร็จ
  • วันที่และเวลา: ตรวจหาข้อมูลวันที่ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย
  • รายการสินค้า: แยกข้อมูลสินค้า ราคาต่อหน่วย และจำนวน
  • ยอดรวม: ระบุยอดเงินทั้งหมดที่ต้องชำระ
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT): ตรวจจับและคำนวณภาษีที่เกี่ยวข้อง

การจัดรูปแบบข้อมูลและส่งออกไปยังระบบต่างๆ

หลังจาก OCR แปลงข้อมูลสำเร็จแล้ว นำ RPA มาช่วยในการส่งออกข้อมูลในรูปแบบที่นำไปใช้ได้ เช่น

  • Excel หรือ CSV สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล
  • ซอฟต์แวร์บัญชี เช่น QuickBooks, Xero, SAP เพื่อบันทึกค่าใช้จ่าย
  • ระบบจัดการเอกสารเพื่อเก็บรักษาใบเสร็จแบบดิจิทัล
ตัวอย่างการใช้งาน OCR ใบเสร็จในธุรกิจ

ตัวอย่างการใช้งาน OCR ใบเสร็จในธุรกิจ

  • ธุรกิจบัญชีและการเงินใช้ OCR เพื่อดึงข้อมูลจากใบเสร็จของลูกค้า และใช้ OCR ดึงข้อมูลในใบเสร็จออกมาตรวจสอบก่อนส่งเบิกค่าใช้จ่าย
  • ธุรกิจโลจิสติกส์และขนส่งใช้ OCR แปลงใบเสร็จค่าน้ำมันเป็นรายงานค่าใช้จ่าย
  • อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรมใช้ OCR ดึงข้อมูลค่าใช้จ่ายจากใบเสร็จโรงแรมและร้านอาหาร

ประโยชน์ของ OCR ใบเสร็จ

  • OCR ช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการคีย์ข้อมูลใบเสร็จด้วยมือ โดยเฉพาะในธุรกิจที่ต้องจัดการกับใบเสร็จจำนวนมาก เช่น บริษัทขนส่ง หรือร้านที่มีใบเสร็จจากการสั่งซื้อวัตถุดิบ
  • การป้อนข้อมูลด้วยมืออาจมีข้อผิดพลาด เช่น พิมพ์ตัวเลขผิด หรือข้ามข้อมูลบางส่วน OCR สามารถช่วยลดปัญหานี้และทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น
  • เมื่อใบเสร็จถูกแปลงเป็นข้อมูลดิจิทัล สามารถเก็บรักษาในรูปแบบที่ค้นหาได้ง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องการสูญหายหรือการจัดเก็บที่ไม่เป็นระเบียบ
  • ช่วยให้การบันทึกค่าใช้จ่ายเป็นไปโดยอัตโนมัติ และช่วยให้สามารถคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้อย่างรวดเร็ว ลดความยุ่งยากในการยื่นภาษีปลายปี
ประโยชน์ของ OCR ใบเสร็จ

FAQ ใบเสร็จและใบกำกับภาษี

OCR ใบเสร็จ และ OCR ใบกำกับภาษี คือเทคโนโลยีที่ช่วยแปลงภาพในใบเสร็จและใบกำกับภาษีให้เป็นข้อความ” เช่น เมื่อคุณถ่ายรูปใบเสร็จ ระบบจะสามารถดึงข้อมูลในรูปภาพมาเป็นข้อความที่นำไปใช้ต่อได้ เช่น วันที่, รายการสินค้า, ราคาสินค้า ฯลฯ

แม้ทั้งสองจะมีหน้าตาคล้ายกัน แต่ข้อมูลภายในแตกต่างกัน ข้อมูลที่ OCR ดึงได้มาจะไม่เท่ากัน

  • ใบเสร็จ มักมีข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายทั่วไป เช่น รายการสินค้า, ยอดรวม, เวลา
  • ใบกำกับภาษี จะมีข้อมูลเพิ่มเติมทางภาษี เช่น เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, ชื่อบริษัท, รายละเอียด VAT ซึ่งจำเป็นต้องแม่นยำมากขึ้นเมื่อนำไปยื่นต่อภาครัฐ

ใช่ เพราะทั้งโครงสร้างข้อมูล และการใช้งานแตกต่างกัน
OCR ที่ดีต้องสามารถตรวจจับได้ว่าเอกสารที่ได้รับคือ:

  • ใบเสร็จรับเงินธรรมดา
  • ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
  • ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ

จากนั้นจึงเลือกดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม เช่น:

  • ใบเสร็จ: เน้นยอดรวม รายการสินค้า เวลา
  • ใบกำกับภาษี: เน้น VAT, ข้อมูลผู้ขาย/ผู้ซื้อ, หมายเลขใบกำกับภาษี

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

ดึงข้อมูล OCR ภาษาไทย

ดึงข้อมูลภาษาไทยด้วย OCR

อ่านตัวอักษรไทยที่มีวรรณยุกต์และสระซับซ้อนได้แม่นยำ รองรับฟอนต์มาตรฐาน เช่น TH Sarabun, Angsana

อ่านต่อได้ที่ OCR ภาษาไทย

OCR ใช้กับใบแจ้งหนี้

ดึงข้อมูลในใบแจ้งหนี้ด้วย OCR

แผนกบัญชีมีงานที่เกี่ยวข้องกับใบ Invoice เป็นจำนวนมาก แต่ถ้ากรอกเอกสารทีละใบลงในระบบ อาจจะต้องใช้เวลา ใช้ทรัพยากรจำนวนมาก

อ่านต่อได้ที่ OCR ใบแจ้งหนี้