RPA Freight Forwarder

RPA Freight Forwarder ตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

RPA Freight Forwarder ระบบอัตโนมัติที่อยากแนะนำให้ผู้ประกอบธุรกิจตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเลือกใช้ เป็นระบบที่มาจากประเทศมาเลเซีย มีชื่อว่า OrangeWorkforce ปัจจุบันเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยภายใต้ชื่อบริษัท KSP AsiaFIN ซึ่งระบบนี้สามารถช่วยในกระบวนการทำงานของ Freight Forwarder ให้เป็นอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น การทำงานที่รวดเร็วขึ้น มีความถูกต้องและแม่นยำมากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรม หรือระบบอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ในระยะยาวระบบนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนการดำเนินงานได้อีกจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดในตอนนี้

ธุรกิจตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ระบบ RPA ช่วยในการกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อทำให้การบริการมีความรวดเร็วขึ้น ลดต้นทุน มีความแม่นยำ ลดความผิดพลาดในกระบวนการปฏิบัติงาน รวมถึงการจัดการเอกสารและการป้อนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า และเกี่ยวข้องกับการดำเนินพิธีการศุลกากร นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการรวบรวมและเปรียบเทียบราคาค่าขนส่ง เพื่อทำให้สามารถเสนอราคาที่แข่งขันได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงยังช่วยติดตามสถานะการขนส่งสินค้า

ตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

Freight Forwarder คือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้แก่ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกสินค้า โดยไม่มีเรือเดินทะเลและตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตนเอง แต่จะเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสินค้าและผู้รับส่งสินค้า โดยทาง Freight Forwarder จะจองและเช่าพื้นจากสายการเดินเรือหรือสายการบินผู้ให้บริการขนส่ง เพื่อนำมาให้บริการผู้นำเข้าและส่งออกสินค้า นอกจากนี้ยังดำเนินการกระบวนการต่างๆ ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการบรรจุสินค้า การขนส่งสินค้า การจัดการเอกสารนำเข้า-ส่งออก การประกันภัย และดำเนินพิธีการทางศุลกากร การติดต่อประสานงาน อัปเดตสถานะการขนส่ง เพื่อส่งสินค้าไปยังปลายทางได้ตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ

Freight Forwarder คืออะไร

RPA Freight Forwarder

เนื่องด้วยในปัจจุบันธุรกิจ Freight Forwarder มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจเหนือกว่าคู่แข่งได้นั้นคือ การดำเนินงานที่มีความรวดเร็ว ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และอีกสิ่งที่สำคัญก็คือราคา ราคาที่ได้เปรียบคู่แข่งขันนั้นมาจากต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำ หลายๆ บริษัทจึงได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้กับธุรกิจ ตัวอย่างเช่น การนำระบบอัตโนมัติ RPA (Robotic Process Automation) มาช่วยทำงานที่มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจน ทำซ้ำ และมีปริมาณมาก หรืองานที่มีความผิดพลาดบ่อยๆ และต้องใช้เวลาในการทำงานมาก มาช่วยพนักงานในการทำงาน หรือการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในธุรกิจ Freight Forwarder เป็นต้น

เทคโนโลยีสำหรับ Freight Forwarder
RPA ใช้งานกับ Freight Forwarder

RPA ใช้งานร่วมกับ Freight Forwarder

  1. จัดการเอกสารใบตราส่งสินค้า ใบขนส่งสินค้า ใบรับสินค้า ใบแจ้งหนี้และใบเสร็จ รวมถึงเอกสารศุลกากรต่างๆ ให้เป็นระบบอัตโนมัติ
  2. ธุรกิจ Freight Forwarder จำเป็นต้องใช้งาน RPA เพื่อติดตามสถานะขนส่งแบบเรียลไทม์ เพื่ออัปเดตข้อมูลให้กับลูกค้าได้ทราบอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีต่อบริษัทของท่าน
  3. จัดการกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับพิธีการทางศุลกากร ไม่ว่าจะเป็นการกรอกข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลและเอกสาร รวมถึงการยื่นข้อมูลผ่านระบบศุลกากร
  4. ใช้ RPA ในการบริหารจัดการค่าขนส่ง โดยการนำข้อมูลต้นทุนค่าขนส่งจากแต่ละผู้ให้บริการขนส่งมาทำการเปรียบเทียบเพื่อทำให้สามารถกำหนดราคาที่แข่งขันได้ในตลาด Freight Forwarder และลูกค้าได้ต้นทุนในการขนส่งสินค้าที่ต่ำ
Freight Forwarder ได้ประโยชน์จากการใช้งาน RPA

ประโยชน์จากการใช้งานซอฟต์แวร์ RPA

  1. รวดเร็ว (Speed) – RPA ช่วยให้การบันทึก คีย์ข้อมูล หรือการทำงานเอกสารที่ต้องทำเป็นประจำรวดเร็วขึ้น ตอบสนองลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น
  2. แม่นยำ (Accuracy) – การบันทึกข้อมูล คีย์ข้อมูล หรืองานเอกสารมีความถูกต้อง ลดข้อผิดพลาดจากการทำงานโดยพนักงาน และสามารถช่วยให้ขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นไปตามข้อกำหนดของศุลกากร
  3. ยืดหยุ่น (Flexible) – รองรับการขยายตัวของธุรกิจ Freight Forwarder โดยซอฟต์แวร์ RPA สามารถรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นได้มากกว่าคน เนื่องจากสามารถทำงานได้ 7 วัน 24 ชั่วโมง
  4. ลดต้นทุน (Cost saving) – ช่วยลดต้นทุนโดยใช้ RPA เพื่อช่วยค้นหาค่าบริการขนส่งจากผู้ให้บริการขนส่งหลายราย และเปรียบเทียบเพื่อหาค่าบริการที่ต่ำ และนอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายด้านแรงงานจากการจ้างแรงงานในการทำงานที่ประจำ ซ้ำเดิมและใช้เวลาเป็นอย่างมาก
  5. ความพึงพอใจ (Satisfaction) –  ด้วยการให้บริการที่รวดเร็ว ปราศจากข้อผิดพลาด และค่าบริการที่แข่งขันได้ จึงทำให้ลูกค้าผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการใช้บริการอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างการใช้งาน RPA กับ Freight Forwarder

ตัวอย่างการใช้งาน RPA ร่วมกับ Freight Forwarder

  1. บริษัทแห่งหนึ่งนำระบบอัตโนมัติ RPA มาใช้ในการทำเอกสารนำเข้า-ส่งออกสินค้า เอกสารขนส่ง และกรอกข้อมูลลงระบบบริหารจัดการ Freight Forwarder และจัดเตรียมข้อมูลเพื่อป้อนลงในซอฟต์แวร์พิธีการศุลกากร สามารถลดข้อผิดพลาดจากการทำงาน และลดเวลาการทำงานได้ประมาณ 60%
  2. บริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำรายหนึ่งนำ RPA มาใช้ในกระบวนการเช็คและรวบรวมอัตราค่าขนส่งจากผู้ให้บริการขนส่ง ทำการเปรียบเทียบราคา และจัดทำใบเสนอราคา พร้อมทั้งจองการขนส่ง จากที่เคยทำโดยใช้คนแบบ Manual มาเป็นแบบอัตโนมัติ ทำให้สามารถช่วยลดเวลาในการทำงานดังกล่าวได้ถึง 70% และเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการได้โดยไม่ต้องจ้างพนักงานเพิ่ม
  3. บริษัท Freight Forwarder รายหนึ่ง ได้ปรับกระบวนการทำงานโดยการนำ RPA มาช่วยในกระบวนการบันทึกและประมวลผลข้อมูลรายละเอียดคำสั่งซื้อของลูกค้าได้รวดเร็วและแม่นยำ ติดตามการจัดส่งและอัปเดทสถานะสินค้าให้ลูกค้าโดยอัตโนมัติ ทำให้สามารถช่วยลดเวลาในการทำงานด้วยคนและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า สร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการให้แก่ลูกค้าอย่างมีนัยสำคัญ
  4. ธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรายหนึ่ง นำ RPA มาช่วยในการบันทึกค่าใช้จ่ายลงในระบบบริหารจัดการ Freight Forwarder ช่วยลดความผิดพลาด และสามารถบันทึกค่าใช้จ่ายได้ถูกต้องแม่นยำ และรวดเร็วขึ้นมากกว่า 60%

ขั้นตอนการนำมาใช้กับ Freight Forwarder

เริ่มจากการวิเคราะห์กระบวนการทำงานว่ามีขั้นตอนไหนที่ RPA จะสามารถเข้าไปช่วยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ประกอบการควรจะพิจารณา กระบวนการทำงานที่มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจนแน่นอน มีปริมาณมาก และต้องทำซ้ำเดิมในทุกๆ วัน หรือมีปัญหา Workload  เมื่อได้กระบวนการที่ต้องการแล้ว ศึกษาหาข้อมูลผู้ให้บริการ RPA โดยต้องพิจารณาทางด้านราคาว่ามีความเหมาะสม เปรียบเทียบระหว่างต้นทุนและค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและค่าใช้จ่ายในการนำซอฟต์แวร์มาใช้ รวมถึงการประหยัดต้นทุนในระยะยาว และพิจารณาปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรซึ่งส่งผลต่อการทำงานประกอบกันด้วย และสิ่งสำคัญคือผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์ ความสามารถในการให้คำแนะนำและสามารถดำเนินการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า รวมถึงความเอาใจใส่ในลูกค้า

ระบบ RPA OrangeWorkforce สามารถทำงานได้ทุกกระบวนการที่คนทำได้บนคอมพิวเตอร์ ตอบโจทย์ทุกกระบวนการทำงานที่ทำซ้ำๆ มีหลักการและรูปแบบการทำงานที่ชัดเจน ราคาเหมาะสมและคุ้มค่า เนื่องจากโปรแกรมพัฒนามาจากผู้พัฒนาในภูมิภาคเอเชีย ราคาจึงออกแบบให้เหมาะสมสำหรับธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย และมีทีมงานผู้ให้บริการโดย KSP AsiaFIN ในประเทศไทย

เคเอสพี เอเชียฟิน เป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มบริษัท Greenpro KSP ประเทศไทยซึ่งให้บริการที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจแบบครบวงจรและ AsiaFIN จากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญทางด้าน Robotic Process Automation และเป็นผู้พัฒนาโปรแกรม RPA OrangeWorkforce โดยได้มีการให้บริการมาแล้วหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย

รายละเอียดเพิ่มเติม โปรแกรม RPA

RPA ร่วมกับซอฟต์แวร์อื่น

RPA กับซอฟต์แวร์ธุรกิจตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

  1. โปรแกรม TMS (Transportation Management System) เช่น Cargowise, Oracle Transportation Management เป็นต้น
  2. โปรแกรม ERP (Enterprise Resource Planning) เช่น SAP, Oracle, Odoo, Microsoft Dynamics 365, NetSuite และ Infor เป็นต้น
  3. โปรแกรม CRM (Customer Relationship Management) เช่น Salesforce, Microsoft Dynamics CRM, SAP CRM เป็นต้น
  4. โปรแกรม WMS (Warehouse Management System) เช่น Fishbowl Inventory, Infor WMS, Oracle Warehouse Management Cloud, SAP Extended Warehouse Management, เป็นต้น
  5. โปรแกรม Customs Management Software โปรแกรมที่ช่วยจัดการเอกสารศุลกากร
  6. โปรแกรมจัดการเอกสาร Document Management System เช่น Google Drive, DocuWare เป็นต้น