TMS (Transportation Management System) ระบบบริหารจัดการขนส่ง

ในยุคที่การขนส่งและโลจิสติกส์เป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ระบบบริหารจัดการขนส่ง หรือ TMS (Transportation Management System) กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการกระบวนการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การวางแผนการเดินทาง การควบคุมการดำเนินงาน ไปจนถึงการวิเคราะห์ต้นทุนและประเมินผลการจัดส่ง ระบบนี้ช่วยลดความซับซ้อนในกระบวนการจัดส่งสินค้า เพิ่มความแม่นยำ และตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้ให้บริการและลูกค้า

TMS คืออะไร

TMS หรือ Transportation Management System คือระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อบริหารจัดการการขนส่งสินค้า ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง โดยรวมถึงการวางแผนเส้นทางการจัดส่ง การเลือกผู้ให้บริการขนส่ง การจัดการคำสั่งซื้อ การติดตามสถานะการจัดส่งแบบเรียลไทม์ ไปจนถึงการประเมินประสิทธิภาพการขนส่งในแต่ละครั้ง ระบบนี้ช่วยให้องค์กรสามารถควบคุมต้นทุน ลดเวลาในการดำเนินงาน และปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

หน้าที่หลักของระบบบริหารจัดการขนส่ง

หน้าที่หลักของระบบบริหารจัดการขนส่ง

ระบบบริหารจัดการขนส่ง (TMS) มีหน้าที่หลักในการช่วยให้กระบวนการจัดส่งสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผน ควบคุม ตรวจสอบ จนถึงการประเมินผล โดยสามารถแบ่งออกเป็น 5 หน้าที่สำคัญ ดังนี้

การวางแผนการขนส่ง

  • กำหนดเส้นทางขนส่งที่ดีที่สุด ช่วยลดระยะทางและเวลาการเดินทาง
  • เลือกวิธีการขนส่งที่เหมาะสมกับประเภทสินค้าและงบประมาณ
  • วางแผนรอบการจัดส่งให้สอดคล้องกับคำสั่งซื้อและกำลังการขนส่ง
  • วิเคราะห์ข้อมูลการขนส่งย้อนหลังเพื่อปรับปรุงแผนในอนาคต

การควบคุมกระบวนการขนส่ง

  • ติดตามสถานะการจัดส่งแบบเรียลไทม์ผ่านระบบติดตาม หรือ GPS
  • ตรวจสอบการดำเนินงานว่าตรงตามแผนที่วางไว้หรือไม่
  • แจ้งเตือนฝ่ายที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ เช่น จัดส่งล่าช้า หรือออกนอกเส้นทาง

การจัดการเอกสารและข้อมูลขนส่ง

TMS ยังมีบทบาทสำคัญในการจัดการเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็น ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี หรือข้อมูลด้านภาษีศุลกากรในกรณีที่มีการขนส่งระหว่างประเทศ ระบบจะรวบรวม จัดเก็บ และจัดการเอกสารเหล่านี้ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบย้อนหลัง

การบริหารต้นทุนขนส่ง

  • บันทึกรายการต้นทุนการดำเนินการด้านการขนส่ง
  • การวิเคราะห์ต้นทุนขนส่งต่อเที่ยว
  • แยกต้นทุนออกเป็นหมวด เช่น ค่าขนส่ง ค่าคนขับ ค่าน้ำมัน ฯลฯ
  • เปรียบเทียบต้นทุนจริงกับงบประมาณที่วางไว้

การประเมินผลการขนส่ง

  • ติดตามผลและตรวจสอบคุณภาพของการจัดส่งแต่ละรอบ
  • บันทึกอัตราความสำเร็จในการจัดส่งและการคืนสินค้า
  • เปรียบเทียบประสิทธิภาพของผู้ให้บริการขนส่งแต่ละราย
  • วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาจุดที่ต้องปรับปรุง
ประเภทของระบบ TMS

ประเภทของ TMS

ระบบบริหารจัดการขนส่ง (TMS) สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท โดยพิจารณาจากลักษณะการทำงาน วิธีการติดตั้ง และความเหมาะสมกับขนาดของธุรกิจแต่ละประเภท การเลือกใช้ระบบที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุน แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของระบบซัพพลายเชนโดยรวม ไม่ว่าจะเป็น Standalone TMS ที่เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการระบบแยกใช้งานอิสระ Integrated TMS ที่เน้นการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบอื่นในองค์กร Cloud-based TMS ซึ่งตอบโจทย์ความยืดหยุ่นในการเข้าถึง และ On-premises TMS ที่เน้นการควบคุมข้อมูลภายในองค์กรโดยตรง

Standalone TMS

Standalone TMS เป็นระบบบริหารจัดการขนส่งที่มุ่งเน้นการทำงานโดยไม่เชื่อมต่อกับระบบอื่น เช่น ERP หรือ WMS จุดเด่นของระบบนี้ คือราคาประหยัด ติดตั้งและใช้งานง่าย เหมาะกับธุรกิจโลจิสติกส์ขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีกระบวนการทำงานไม่ซับซ้อน ผู้ใช้สามารถกำหนดเส้นทาง จัดตารางการจัดส่ง และติดตามสถานะสินค้าได้ในระบบเดียว แต่ระบบอาจจะไม่ครอบคลุมเท่ากับ TMS ประเภทอื่น

Integrated TMS

Integrated TMS คือระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกับระบบอื่นภายในองค์กร เช่น ระบบ ERP หรือระบบ WMS โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยลดความผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลซ้ำ เพิ่มความแม่นยำในการทำงาน และสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ระบบประเภทนี้เหมาะสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีหลายแผนกต้องทำงานร่วมกัน และต้องใช้ข้อมูลที่เชื่อมโยงกันอย่างถูกต้อง

Cloud-based TMS

คือระบบบริหารจัดการขนส่งที่ทำงานผ่านระบบคลาวด์ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กร ผู้ใช้สามารถเข้าถึงระบบได้จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการทำงาน ระบบนี้มักมาพร้อมฟีเจอร์สำคัญ เช่น การอัปเดตอัตโนมัติ การสำรองข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และมาตรการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังสามารถทำงานร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ ช่วยให้การบริหารจัดการขนส่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

On-premises TMS

On-premises TMS คือระบบบริหารจัดการขนส่งที่ติดตั้งและใช้งานภายในองค์กร โดยระบบจะทำงานบนเซิร์ฟเวอร์หรือฮาร์ดแวร์ เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูล และต้องการควบคุมระบบไอที ระบบนี้มีความเสถียรสูง และสามารถปรับแต่งให้ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของแต่ละธุรกิจได้อย่างยืดหยุ่น อีกหนึ่งจุดเด่นคือไม่พึ่งพาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จึงลดความเสี่ยงจากปัญหาสัญญาณไม่เสถียร On-premises TMS ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นค่อนข้างสูง และจำเป็นต้องมีทีมไอทีที่เชี่ยวชาญคอยดูแลระบบอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างการใช้งานระบบ TMS

  • ธุรกิจค้าปลีก ใช้ TMS เพื่อวางแผนการจัดส่งสินค้าจากคลังไปยังสาขายต่างๆ ให้ทันเวลา

  • E-Commerce ใช้ TMS เชื่อมกับระบบคำสั่งซื้อ เพื่อบริหารการจัดส่งให้ลูกค้าแต่ละรายอย่างมีประสิทธิภาพ

  • อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ใช้ TMS การควบคุมการขนส่งสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็ง จัดการเส้นทางให้เหมาะสมกับเวลาและอุณหภูมิที่กำหนด เพื่อรักษาคุณภาพสินค้า

  • บริษัทโลจิสติกส์ใช้ TMS ในการจัดการรถขนส่งหลายคันพร้อมกัน จัดรอบการขนส่งหลายเที่ยวในแต่ละวัน และติดตามพิกัดรถแบบเรียลไทม์เพื่อส่งรายงานให้ลูกค้า

ตัวอย่างการใช้งานระบบ TMS
ประโยชน์ของระบบ TMS

ประโยชน์ของระบบ TMS

  • ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งด้วยการวางแผนระยะทางและการใช้รถขนส่งอย่างเหมาะสม
  • ช่วยให้การจัดส่งมีความแม่นยำยิ่งขึ้น พร้อมลดปัญหาการจัดส่งผิดเวลา หรือเอกสารไม่ครบถ้วน
  • ติดตามสถานะขนส่งแบบเรียลไทม์ และแจ้งเตือนลูกค้าทันที่เมื่อเกิดปัญหาด้านการจัดส่ง
  • เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ด้วยการส่งมอบสินค้าตรงเวลาและมีระบบที่ตรวจสอบได้
  • เสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร ด้วยระบบขนส่งที่มาตรฐาน และมีความทันสมัย
  • ข้อมูลที่ได้จากระบบสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจทางธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนเส้นทางหรือปรับกลยุทธ์การจัดส่ง

ระบบ TMS ที่นิยมใช้งาน

SAP Transportation Management

Oracle Transportation Management

Softdebut TMS

Zebra TMS

EzyLogistics

การทำงานร่วมกันระหว่าง RPA และ TMS

การทำงานร่วมกันระหว่าง RPA (Robotic Process Automation) กับระบบ TMS (Transportation Management System) ช่วยยกระดับกระบวนการทำงานของธุรกิจโลจิสติกส์ในยุคดิจิทัล โดย RPA ช่วยในกระบวนการทำงานที่มีลักษณะซ้ำเดิม เช่น การกรอกข้อมูลคำสั่งซื้อ การจัดการใบแจ้งหนี้ การอัปเดตสถานะการจัดส่ง หรือแม้แต่การส่งอีเมลแจ้งลูกค้าอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อนำมารวมกับ TMS ที่ทำหน้าที่วางแผนและบริหารกระบวนการขนส่ง จะยิ่งช่วยลดภาระงาน เพิ่มความแม่นยำ และลดโอกาสการเกิดข้อผิดพลาดจากการทำงานแบบ Manual

การทำงานร่วมกันระหว่าง RPA และ TMS