RPA ประกันภัย

RPA ประกันภัย

เพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการดำเนินงานให้กับธุรกิจด้วย RPA ประกันภัย และยังช่วยยกระดับการให้บริการที่รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติจะเข้ามาช่วยจัดการข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจเช็คเอกสาร รวมถึงแจ้งเตือนไปหาลูกค้าและพนักงานที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างการใช้ในธุรกิจประกันภัย เช่น ตรวจสอบเอกสารการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือใช้ RPA ช่วยจัดการกระบวนการต่ออายุกรมธรรม์ เป็นต้น

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ RPA ประกันภัย

เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจประกันภัยด้วยระบบ RPA ตัวอย่างเช่น จัดการข้อมูลลูกค้าไม่ให้เกิดความผิดพลาด, จัดการเอกสารเคลมประกัน, ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยง, ช่วยในกระบวนการสมัครประกันของลูกค้าให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นต้น ระบบ RPA สามารถช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจได้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นลดความผิดพลาดในการจัดการข้อมูลลูกค้า ปรับปรุงความรวดเร็วในการดำเนินงานด้านเคลมประกัน รวมถึงช่วยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงอย่างแม่นยำ

เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจประกันภัยด้วย RPA

01

จัดการข้อมูลลูกค้าประกันภัยด้วย RPA

เนื่องจากธุรกิจประกันมีข้อมูลของลูกค้าจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าทุกราย ข้อมูลการทำประกัน เบี้ยประกันของแต่ละท่าน หรือแม้แต่ข้อมูลบันทึกการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าทางโทรศัพท์ อีเมล หรือช่องทางแชทต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบระเบียบด้วยระบบ RPA แต่ถ้าไม่นำระบบเข้ามาช่วย ธุรกิจจะใช้เวลาและต้นทุนในการดำเนินงานจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบแล้วถือว่าระบบอัตโนมัตินี้เป็นตัวช่วยที่น่าสนใจ ที่คอยจัดการข้อมูลลูกค้าประกันภัยให้ง่ายยิ่งขึ้น สนใจระบบของเราคลิกที่นี้ โปรแกรม RPA

02

กระบวนการเคลมประกันอัตโนมัติ

  • ตรวจสอบเอกสารในการเคลม เช่น ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล, บัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น
  • เปรียบเทียบเอกสารการเคลมกับเงื่อนไขกรมธรรม์โดยอัตโนมัติ
  • แจ้งเตือนลูกค้าผ่านทางอีเมล หรือ SMS เพื่อแจ้งผลการอนุมัติหรือปฏิเสธการเคลมประกัน
  • จัดทำรายงานการเคลมประกันโดยอัตโนมัติ เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน

03

RPA ประเมินความเสี่ยงงานประกันภัย

บอททำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น ข้อมูลสุขภาพของผู้ทำประกัน, ตรวจเช็คประวัติการเคลมประกันที่ผ่านมาว่ามีความถี่ในการเคลมกี่ครั้ง, อาชีพที่อาจเกิดความเสี่ยง หรือประวัติการชำระเงิน เป็นต้น หลังจาก RPA ตรวจพบความเสี่ยง ระบบจะแจ้งเตือนไปยังพนักงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบอีกครั้ง

04

RPA ในกระบวนการสมัครประกัน

เริ่มจากใช้โปรแกรม OCR ดึงข้อความที่อยู่ในบัตรประชาชน เอกสารรับรองรายได้ผู้สมัคร หรือเอกสารอื่นๆ ที่เป็นไฟล์รูปภาพ เพื่อนำมาเก็บรวบรวมข้อมูล รวมถึงกรอกลงระบบโดยอัตโนมัติ ถ้าข้อมูลส่วนไหนไม่ครบตามที่กำหนด ระบบ RPA จะทำการแจ้งเตือนไปยังผู้สมัครและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างการใช้ RPA Insurance

กรณีศึกษาการใช้งาน RPA ในธุรกิจประกันภัย

บริษัท A ใช้ระบบ RPA ช่วยลดเวลาการทำงานในกระบวนการเรียกร้องค่าสินไหม โดยบอททำหน้าที่คัดกรองข้อมูลเอกสารและหลักฐานต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยลดความผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลอีกด้วย

บริษัท B ใช้ระบบ RPA ในกระบวนการต่ออายุกรมธรรม์ โดยประเมินความเสี่ยงก่อนส่งข้อมูลการต่อกรมธรรม์ให้กับลูกค้าอัตโนมัติ เพื่อรักษารายได้ของบริษัทและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่ขาดการต่ออายุกรมธรรม์

ข้อดีของ RPA ในธุรกิจประกันภัย

  • ดำเนินงานด้วยความรวดเร็ว เช่น การเคลมประกัน การตรวจสอบข้อมูลลูกค้า หรือการประเมินความเสี่ยง เป็นต้น
  • ลดความผิดพลาดจากการคำนวณเบี้ยประกัน ลดความผิดพลาดจากการคีย์ข้อมูล ส่งผลให้ธุรกิจมีความแม่นยำสูง
  • ในระยะยาว RPA จะเข้ามาช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้เป็นอย่างมาก ช่วยลดต้นทุนด้านแรงงาน
  • การบริการที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จะช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า นอกจากนี้ลูกค้ายังเกิดความเชื่อมั่นอีกด้วย
  • บริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ข้อมูลไม่มีตกหล่น
ข้อดีของ RPA ในธุรกิจประกันภัย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ RPA Insurance

RPA คือซอฟต์แวร์อัตโนมัติในการจัดการกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อนในธุรกิจประกันภัย RPA มีบทบาทสำคัญในการ ลดข้อผิดพลาด เพิ่มความรวดเร็ว และช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดการข้อมูลลูกค้า การประมวลผลเคลม และการประเมินความเสี่ยง

ระบบ RPA สามารถ ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารเคลม ดึงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และส่งต่อไปยังระบบพิจารณาได้แบบอัตโนมัติ ช่วยให้การเคลมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และทำให้ลูกค้าได้รับการอนุมัติหรือแจ้งผลได้เร็วขึ้น

RPA สามารถ รวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น ประวัติการเคลมของลูกค้า ข้อมูลเครดิต และสถิติอุบัติเหตุ จากนั้นนำไปวิเคราะห์ร่วมกับโมเดลการประเมินความเสี่ยง ทำให้บริษัทสามารถคำนวณเบี้ยประกันที่เหมาะสม และลดความเสี่ยงจากการรับประกันภัยที่ไม่สมเหตุสมผล

RPA สามารถช่วยให้ กระบวนการสมัครประกันเป็นไปอย่างรวดเร็วและราบรื่น เช่น การตรวจสอบเอกสารยืนยันตัวตนแบบอัตโนมัติ การป้อนข้อมูลลงในระบบกรมธรรม์โดยอัตโนมัติ และการแจ้งเตือนลูกค้าเกี่ยวกับสถานะการสมัคร ทำให้ลดเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานและช่วยให้ลูกค้าได้รับกรมธรรม์เร็วขึ้น

การนำ RPA มาใช้ไม่ได้หมายความว่าต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรทั้งหมด แต่ควร ปรับกระบวนการทำงานให้เหมาะสมกับการทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติ เช่น การลดงานที่ซ้ำซ้อนของพนักงาน และให้พนักงานมุ่งเน้นไปที่งานที่ต้องใช้การตัดสินใจมากขึ้น

แม้ว่า RPA จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ก็มีความเสี่ยง เช่น ความผิดพลาดของระบบอัตโนมัติ ปัญหาการเชื่อมต่อกับระบบเดิม และความจำเป็นในการดูแลและอัปเดตระบบอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น บริษัทควรมีแผนสำรองและทีมงานที่สามารถจัดการปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้

เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง

RPA สินเชื่อ

ธุรกิจสินเชื่อใช้งาน RPA

ธุรกิจสินเชื่อเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ความรวดเร็วในการบริหารจัดการงาน ไม่ว่าจะเป็นการอนุมัติสินเชื่อ หรือติดตามการชำระเงิน

อ่านต่อได้ที่ RPA สินเชื่อ

RPA ธนาคาร

ธุรกิจธนาคารใช้งาน RPA

ธนาคารมีงานเอกสารต่างๆ ที่ต้องอนุมัติหรือตรวจสอบจำนวนมาก การนำ RPA มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ช่วยให้สะดวกรวดเร็ว

อ่านต่อได้ที่ RPA ธนาคาร