RPA สินเชื่อ

RPA สินเชื่อ

RPA สินเชื่อ คือ การนำระบบ RPA (Robototic Process Automation) มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงานของธุรกิจสินเชื่อ เช่น การรวบรวมข้อมูลลูกค้า การตรวจสอบข้อมูล การติดตามสถานะการชำระเงิน เป็นต้น โดยมุ่งเน้นการทำงานอัตโนมัติในส่วนที่เป็นงานซ้ำๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาด และลดเวลาการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินงานสินเชื่อ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพลิกโฉมในธุรกิจสินเชื่อ ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของธุรกิจการเงินและธนาคาร

ตัวอย่างการใช้ RPA สินเชื่อ

ปัจจุบันนิยมประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติ RPA ในธุรกิจสินเชื่อ ซึ่งสามารถช่วยให้งานในกระบวนต่างๆ ของธุรกิจเป็นอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น การอนุมัติสินเชื่ออัตโนมัติ การติดตามการชำระเงินของลูกค้า การจัดการเอกสารและข้อมูลลูกค้า เป็นต้น ธุรกิจสินเชื่อต้องดำเนินงานด้วยความถูกต้องและแม่นยำสูง เพราะถ้าเกิดความผิดพลาดแม้แต่นิดเดียว อาจทำให้บริษัทเกิดความเสียหายจำนวนมาก

RPA ในธุรกิจสินเชื่อ
01

อนุมัติสินเชื่ออัตโนมัติ

การอนุมัติสินเชื่อต้องใช้ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รายรับของลูกค้าในแต่ละเดือน หนี้สินทั้งหมดของลูกค้า ยอดที่ลูกค้าต้องชำระต่อเดือน ประวัติการชำระเงินย้อนหลังว่าตรงตามเงื่อนไขหรือไม่ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพิจารณาการปล่อยสินเชื่อ ซึ่ง RPA สามารถรวบรวมข้อมูลเหล่านี้จากระบบต่างๆ เพื่อรวมศูนย์ข้อมูลในที่เดียว และประเมินผลการอนุมัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ หลังจากทราบผลการอนุมัติ ระบบจะทำการแจ้งเตือนไปหาลูกค้าทางอีเมล หรือ SMS โดยอัตโนมัติ

02

ติดตามการชำระเงิน

การชำระเงินจากลูกค้าสินเชื่อเป็นสิ่งที่สำคัญของธุรกิจ การจ้างพนักงานจำนวนมากมาทำงานในกระบวนการติดตามการชำระเงิน จะส่งผลให้ธุรกิจมีต้นทุนที่มหาศาล ดำเนินกิจการไม่คุ้มกับรายได้ ธุรกิจสินเชื่อจึงต้องนำระบบ RPA มาช่วยในการติดตามการชำระเงิน โดยระบบสามารถช่วยงานได้หลายกระบวนการ ตัวอย่างเช่น แจ้งเตือนไปหาลูกค้าทันทีที่ครบกำหนดชำระเงิน ตรวจสอบสถานะการชำระเงินแบบเรียลไทม์ เป็นต้น

03

จัดการข้อมูลลูกค้าสินเชื่อ

ธุรกิจสินเชื่อจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลลูกค้าอย่างครบถ้วนและอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ปัจจุบัน รายได้ต่อเดือน ยอดหนี้คงค้าง เป็นต้น โดยโปรแกรม RPA (OrangeWorkforce) และโปรแกรม OCR (Orange Vision Fom+) จะช่วยดึงข้อมูลจากบัตรประชาชนหรือไฟล์เอกสารสแกนต่างๆ และนำข้อมูลมาใส่ในระบบของทางบริษัท นอกจากนี้ระบบยังสามารถตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวที่ลูกค้าส่งมาให้ใหม่และเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมว่าถูกต้องตรงกันไหม ถ้าไม่ตรงกัน RPA จะทำการอัปเดตอัตโนมัติ

04

จัดการเอกสารสินเชื่อด้วย RPA

เอกสารในธุรกิจสินเชื่อเป็นเอกสารสำคัญที่ต้องจัดเก็บไว้ให้ดี และควรจัดเก็บให้เป็นระเบียบ เผื่ออนาคตต้องค้นหาและนำเอกสารเหล่านั้นกลับมาใช้ ตัวอย่างเช่น เอกสารขอสินเชื่อ เอกสารสัญญา เอกสารผู้ค่ำประกัน เป็นต้น โดย RPA จะช่วยจัดการเอกสารอัตโนมัติ ไม่ต้องกังวลเอกสารตกหล่น หรือพนักงานจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ เพราะระบบจะจัดการเอกสารตรงตามที่กำหนดไม่เกิดความผิดพลาด

ตัวอย่างการใช้ RPA ธุรกิจสินเชื่อ

RPA ช่วยงานในธุรกิจสินเชื่ออะไรได้บ้าง?

  • ธนาคารต่างประเทศรายนึงใช้ระบบช่วยส่งอีเมล และ SMS แจ้งเตือนไปยังลูกค้าที่ยังไม่ชำระเงิน และแจ้งเตือนไปหาลูกค้าต่อเมื่อถึงวันที่ต้องชำระ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าชำระหนี้มากขึ้นและลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้
  • บริษัทการเงินรายหนึ่งนำระบบ RPA มาช่วยตรวจสอบข้อมูลลูกค้าตามกฎระเบียบ KYC (Know Your Customer) และป้องกันการฟอกเงิน โดยตรวจจากข้อมูลการทำธุรกรรมย้อนหลัง และข้อมูลประวัติการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้า
  • ธนาคารรายใหญ่รายหนึ่งใช้ระบบเพื่อลดภาระงานในกระบวนการตรวจสอบเอกสารลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเอกสารสินเชื่อ หรือเอกสารค้ำประกัน แต่หากดำเนินการค้นหาและตรวจสอบเอกสารด้วยตนเองโดยไม่ใช้ระบบ RPA เข้ามาช่วย อาจจะใช้เวลาหลายชั่วโมง

ข้อดีของ RPA ในงานสินเชื่อ

  • เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า ด้วยการแจ้งผลการอนุมัติสินเชื่อที่รวดเร็ว และยังสามารถรองรับการให้บริการลูกค้าได้มากขึ้น
  • ช่วยให้การติดตามหนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ และช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานติดตามหนี้
  • การอนุมัติสินเชื่อมีความแม่นยำมากขึ้น เนื่องจากข้อมูลมีการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอ ไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลที่ใช้พิจารณาสินเชื่อเป็นข้อมูลเก่า
  • ลดความผิดพลาดในการจัดเก็บเอกสาร ข้อมูลมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการใช้กระดาษ
ข้อดีของ RPA สินเชื่อ

เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง

RPA ธนาคาร

ธุรกิจธนาคารใช้งาน RPA

ธนาคารมีงานเอกสารต่างๆ ที่ต้องอนุมัติหรือตรวจสอบจำนวนมาก การนำ RPA มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ช่วยให้สะดวกรวดเร็ว

อ่านต่อได้ที่ RPA ธนาคาร

RPA ประกันภัย

ธุรกิจประกันภัยใช้งาน RPA

กระบวนการทำงานของธุรกิจประกันภัย จะพบเจอเอกสารจำนวนมาก เช่น เอกสารสมัครทำประกัน เอกสารการเครม หรือแม้แต่ข้อมูลลูกค้า

อ่านต่อได้ที่ RPA ประกันภัย