OCR คือเทคโนโลยีที่ช่วยแปลงข้อความในรูปแบบภาพ เช่น เอกสารสแกน, ไฟล์ PDF หรือ รูปภาพ ให้กลายเป็นข้อความที่สามารถแก้ไข ค้นหาหรือนำมาใช้งานต่อได้ เทคโนโลยีนี้มีชื่อเต็มมาจาก Optical Character Recognition แปลเป็นไทย การรู้จำตัวอักษรด้วยแสง นับว่าเทคโนโลยีนี้เป็นการปฏิวัติการจัดการเอกสารในยุคดิจิทัล ช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มความแม่นยำ โดยเฉพาะในองค์กรที่ต้องจัดการเอกสารจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม OCR ยังมีข้อจำกัด เช่น การจดจำข้อความจากภาพที่มีคุณภาพต่ำหรือการทำงานกับฟอนต์ที่ไม่รองรับ ซึ่งอาจต้องเตรียมเอกสารหรือตั้งค่าให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ก่อนอื่นเริ่มจากปรับแต่งภาพให้ชัดเจนขึ้นเพื่อลดสัญญาณรบกวนและแก้ไขความเอียง ก่อนที่ OCR จะวิเคราะห์และแยกโครงสร้างข้อความออกเป็นบรรทัด คำ และตัวอักษร ระบบใช้การเปรียบเทียบรูปแบบตัวอักษร (Pattern Matching) หรือการวิเคราะห์ลักษณะตัวอักษร (Feature Extraction) เพื่อจดจำและแปลงเป็นข้อความ สามารถส่งออกข้อมูลเป็นไฟล์ EXCEL, TXT, DOCX, หรือ PDF ที่สามารถค้นหาได้ ปัจจุบันพัฒนาให้รองรับหลายภาษา รวมถึงภาษาไทย
แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ Simple OCR, Intelligent OCR และ Handwriting OCR ซึ่งแต่ละประเภทมีความสามารถและจุดเด่นแตกต่างกันออกไป เหมาะสมกับลักษณะการทำงานเฉพาะด้าน Simple เหมาะกับการแปลงเอกสารที่มีฟอนต์มาตรฐานและชัดเจน ขณะที่ Intelligent สามารถประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนกว่า เช่น ฟอร์มและตาราง และ Handwriting ออกแบบมาเพื่อจดจำลายมือ ช่วยให้การแปลงเอกสารที่เขียนด้วยมือเป็นข้อความดิจิทัลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจสามารถเลือกใช้ตามความต้องการได้อย่างยืดหยุ่นและตอบโจทย์การใช้งานจริง
คือ เทคโนโลยีที่เหมาะสำหรับการแปลงข้อความตัวพิมพ์มาตรฐานจากเอกสารที่มีรูปแบบชัดเจน เช่น รานงานทางธุรกิจ หนังสือ คู่มือการใช้งาน หรือ สัญญา เป็นต้น เทคโนโลยีนี้เหมาะกับเอกสารที่มีคุณภาพที่ดี ไม่มีรอยขีดเขียนหรือรอยขีดฆ่า
หรือ ICR คือเทคโนโลยีที่พัฒนาจาก Simple OCR โดยเพิ่มความสามารถในการจดจำลายมือและตัวอักษรที่ไม่เป็นระเบียบ เช่น การกรอกแบบฟอร์มด้วยลายมือ หรือข้อความในภาพที่มีฟอนต์ซับซ้อน เทคโนโลยีนี้ใช้ Machine Learning และ AI ในการเรียนรู้และพัฒนาความแม่นยำ
ถูกออกแบบมาเพื่อเน้นการแปลงข้อความที่เขียนด้วยมือให้เป็นข้อมูลดิจิทัล เทคโนโลยีนี้มีความแม่นยำสูงมาก เหมาะกับการจัดการเอกสารที่จัดทำด้วยลายมือ ตัวอย่างเช่น บันทึกการประชุม เอกสารทางการแพทย์ที่แพทย์เขียนด้วยลายมือ เป็นต้น
สามารถนำไปใช้ได้กับเอกสารและไฟล์หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ เอกสาร PDF ไฟล์ Excel หรือแม้แต่เอกสารที่เขียนด้วยลายมือ OCR ช่วยแปลงข้อมูลจากสื่อเหล่านี้ให้กลายเป็นข้อความดิจิทัลที่สามารถแก้ไข ค้นหา และนำไปใช้งานได้สะดวกมากขึ้น
ปัจจุบันถูกนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น การเงิน บัญชี กฎหมาย การแพทย์ และอีคอมเมิร์ซ ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการเอกสารอัตโนมัติ ลดเวลาการทำงาน และลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการป้อนข้อมูลด้วยมือ นอกจากนี้ยังรองรับการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่น ระบบ ERP, RPA และ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูลอีกด้วย
การใช้เทคโนโลยี OCR กับภาพถ่ายหรือไฟล์รูปภาพ อย่างเช่น ใบเสร็จ หนังสือ หรือข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ภาพ เป็นต้น โดยการตรวจจับและแปลงข้อความในภาพให้กลายเป็นข้อความดิจิทัล ไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลเอง เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการการจัดการเอกสารจากภาพ สามารถดึงข้อมูลออกมาได้อย่างรวดเร็ว
OCR PDF คือ การดึงข้อความจากไฟล์ PDF ที่ไม่สามารถค้นหาได้ PDF ที่เกิดจากการสแกน เทคโนโลยีนี้ช่วยให้เอกสาร PDF ที่เคยเป็นแค่ภาพ กลายเป็นไฟล์ที่สามารถค้นหา คัดลอก หรือแก้ไขได้ โดยไม่ต้องพิมพ์ใหม่
OCR Excel เป็นการประยุกต์ใช้ RPA ทำงานร่วมกับ OCR เพื่อดึงข้อมูลจากเอกสาร เช่น ใบเสร็จหรือรายงาน และแปลงข้อมูลเหล่านั้นเข้าสู่ไฟล์ Excel อัตโนมัติ เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการจัดการข้อมูลให้เป็นระเบียบ เช่น การบัญชี คลังสินค้า เป็นต้น
เริ่มต้นด้วยการเลือกภาพหรือเอกสารที่ต้องการแปลง จากนั้นกำหนดข้อมูลที่ต้องการให้ระบบ RPA ดึงเข้าสู่โปรแกรม Excel พร้อมขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อให้มั่นใจในความแม่นยำของข้อมูล
OCR ไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง แต่ต้องอาศัยเทคโนโลยีอื่นๆ มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการจดจำข้อความ โดยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
ความแม่นยำขึ้นอยู่กับ
ปัญหาที่พบได้บ่อยคือ
การรวมเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ใช้จัดการเอกสารหลากหลายรูปแบบ Intelligent Document Processing
Data Extraction และ Data Retrieval ทั้ง 2 อย่างนี้เป็นการดึงข้อมูล แต่แตกต่างกันที่
ระบบที่สามารถเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมากและนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ Machine Learning
ที่อยู่
43 อาคารไทยซีซี ทาวเวอร์ ชั้นที่ 11 ห้องเลขที่ 111
ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา
เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
Copyright © 2025 KSP AsiaFIN Co., Ltd. All Rights Reserved.