สำหรับธุรกิจการผลิตที่ต้องการปรับตัวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 RPA การผลิต คือสิ่งสำคัญที่จะมาช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่อุตสาหกรรมการผลิต ทำให้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจ และอีกหนึ่งจุดเด่นของระบบ RPA ในธุรกิจการผลิต นั่นคือ สามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยี โปรแกรม หรือระบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรม หรือระบบต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือระบบ AI และ Machine Learning ซึ่งในอนาคตผู้ผลิตจะนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิต สามารถใช้งานร่วมกับระบบต่างๆ เหล่านั้นได้ ซึ่งช่วยให้กระบวนการผลิตของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพสูงสุด
ปัจจุบันการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในธุรกิจการผลิตกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก RPA เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง RPA สามารถนำมาใช้ในกระบวนการผลิต และกระบวนการอื่นๆ ในธุรกิจ โดยเปลี่ยนจากกระบวนการทำงานโดยใช้พนักงานจำนวนมากให้เป็นการผลิตแบบอัตโนมัติมากขึ้น RPA การผลิต จะเข้ามาช่วยวางแผน ควบคุมคุณภาพ วางแผนบำรุงรักษาเครื่องจักร และจัดการงานต่างๆ ในธุรกิจการผลิตได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างการนำมาใช้งานในการผลิต
สามารถนำ RPA ในการผลิตมาช่วยในกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานซัพพลายเชนได้หลากหลายกระบวนการ ยกตัวอย่างเช่น การนำข้อมูลคำสั่งซื้อจากลูกค้ากรอกลงในระบบ ERP และตรวจเช็คสินค้าในสต็อกว่ามีพร้อมส่งตามรายการที่สั่งซื้อหรือไม่, การออกใบส่งของ ออกใบแจ้งหนี้และใบเสร็จ นอกจากนี้ยังช่วยวางแผนในการขนส่งสินค้า, ใช้บริหารจัดการกับซัพพลายเออร์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการคำสั่งซื้อวัตถุดิบ การตรวจเช็คสถานะขนส่งและอัปเดตสถานะให้ผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
เริ่มต้นตั้งแต่รวบรวมข้อมูลจากระบบต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น รวบรวมข้อมูลวัตถุดิบที่มีอยู่ในสต็อก ข้อมูลการสั่งสินค้าจากลูกค้า ข้อมูลสินค้าที่ขายดี โดยนำข้อมูลประวัติการขายที่ผ่านมา และนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และวางแผนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนทางด้านการจัดซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ การวางแผนด้านบุคลากร และวางแผนด้านต้นทุนการผลิต ซึ่งรวมถึงการวางแผนทางด้านสูตรการผลิตหรือรายการวัสดุส่วนประกอบ (BOM) ซึ่ง RPA จะสามารถเข้าไปช่วยในการสร้างหรืออัปเดท ตรวจสอบข้อมูล การสร้างรายงาน และวิเคราะห์ต้นทุนจาก BOM การสื่อสารระหว่างแผนกต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้ BOM เช่นจัดซื้อ แผนกผลิต และแผนกวิศวกรรม เป็นต้น
ระบบ RPA สามารถช่วยในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพให้เป็นอัตโนมัติ โดยช่วยในการกำหนดตารางการตรวจสอบอัตโนมัติ ทำให้การตรวจสอบเป็นไปตามกำหนดเวลาไม่คลาดเคลื่อน พร้อมยังช่วยทำรายงานและส่งผลการรายงานให้ผู้เกี่ยวข้อง นอกจากนี้บอทยังช่วยบันทึกกระบวนการควบคุมคุณภาพและอัปเดทข้อมูล ลดการผิดพลาดของคนในการกรอกข้อมูลในระบบควบคุมคุณภาพ ช่วยในการนำข้อมูลกรอกลงระบบต่างๆ หรือถ่ายโอนข้อมูลระหว่างระบบ เช่นระบบ ERP และระบบปฏิบัติการในกระบวนการผลิต (MES) ทำให้การกรอกข้อมูลหรือถ่ายโอนมีความแม่นยำ นอกจากนี้ยังช่วยในการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ เพื่อเทียบกับมาตรฐานและหาความบกพร่อง
ใช้ระบบ RPA เป็นตัวช่วยในการบำรุงรักษาเครื่องจักร เนื่องจากเครื่องจักรมีกำหนดเวลาในการเปลี่ยนอะไหล่ และกำหนดเวลาในการบำรุงรักษา เราสามารถกำหนดให้ระบบแจ้งเตือนผู้เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ ในการเปลี่ยนอะไหล่หรือบำรุงรักษาเครื่องจักรดังกล่าวเมื่อถึงกำหนดเวลา ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดจากการละเลย และไม่ทำการบำรุงรักษาตามกำหนดการ ซึ่งอาจทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหาย ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงัก นอกจากนี้ยังสามารถดำเนินการจัดทำใบสั่งซื้ออะไหล่ที่ต้องใช้ในการบำรุงรักษาโดยอัตโนมัติได้อีกด้วย
ช่วยในการจัดการสินค้าคงคลัง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิต หรือวัตถุดิบในการผลิต โดย RPA สามารถช่วยตัดสต็อก ตรวจเช็คจำนวนสินค้าคงคลังรวมถึงวัตถุดิบในคลังสินค้าได้แบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถทราบถึงปริมาณวัตถุดิบว่าเพียงพอต่อการผลิตหรือไม่ หรือกำหนดปริมาณวัตถุดิบคงเหลือเมื่อถึงจุดที่ต้องทำการสั่งซื้อเพื่อให้บอททำการแจ้งเตือนแบบอัตโนมัติ หรือในกรณีที่สินค้ามีปริมาณคงเหลือที่ถึงจุดต้องการทำการผลิตเพิ่ม นอกจากนี้บอทอาจจะทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ หรือระบบอื่นๆ ในคลังสินค้าได้ เพื่อให้ทราบจำนวนสินค้าในคลัง และจัดเรียงสินค้าตามวันเวลาที่ผลิต และยังมีอีกหลายกระบวนการทำงานในคลังสินค้าที่สามารถนำมาช่วยงานได้
การใช้ RPA อุตสาหกรรมการผลิต สามารถช่วยให้ธุรกิจการผลิตลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดความผิดพลาดจากการทำงาน ผู้ผลิตที่กำลังมองหาการผลิตแบบลีน Lean Manufacturing การนำ RPA มาใช้ในธุรกิจของท่านเหมาะสมเป็นอย่างมาก ซึ่งจะช่วยควบคุมคุณภาพการผลิต ลดเวลาในกระบวนการผลิต ลดการใช้งานพนักงานในขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน และลดการผลิตที่เกินความต้องการ
การเพิ่มประสิทธิภาพอุตสาหกรรมการผลิตโดยการนำบอท RPA มาทำงานช่วยพนักงานทำงาน โดยพนักงานอาจจะมีเวลาในการทำงานที่จำกัด ซึ่งปกติทำงาน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน แต่บอทสามารถทำงานได้ 7 วันตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้งานและข้อมูลที่มีปริมาณมาก ความรีบเร่ง หรือความเหนื่อยล้า อาจส่งผลให้การทำงานโดยพนักงานเกิดความผิดพลาด เช่นการกรอกข้อมูลสูตรการผลิตมีความผิดพลาด ทำให้สินค้าที่ผลิตไม่ตรงตามมาตรฐาน ในขณะที่บอทสามารถกรอกข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว
อย่างที่ทราบกันดีว่า ถ้าธุรกิจผลิตสามารถลดต้นทุน Manufacturing ได้ถูกลง ก็จะทำให้ธุรกิจมีผลกำไรมากขึ้น RPA เข้ามามีบทบาทสำคัญในการลดต้นทุนด้านแรงงาน โดยสามารถเข้ามาช่วยงานพนักงานทำงานที่มีรูปแบบที่แน่นอน ทำซ้ำ และมีปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว ทำให้พนักงานมีเวลาไปทำงานอย่างอื่นที่ใช้การตัดสินใจได้มากขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานที่ต้องทำงานที่มีรูปแบบซ้ำๆ เดิม และมีปริมาณมาก ให้แก่ธุรกิจผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากระบบสามารถทำงานที่มีรูปแบบที่แน่นอน ทำซ้ำและมีปริมาณมาก ได้เป็นอย่างดี มีการทำงานที่ถูกต้องไม่ผิดพลาดตามที่ได้มีการตั้งค่าไว้ล่วงหน้า ส่งผลให้กระบวนการทำงานของธุรกิจการผลิตที่ได้มีการนำ RPA มาใช้มีความผิดพลาดน้อยลง และมีความถูกต้องมากขึ้น รวมถึงกระบวนการผลิตสินค้ามีความถูกต้องเป็นไปตามสูตรการผลิต ทำให้ได้สินค้าที่ตรงตามมาตรฐานการผลิต เป็นที่ต้องการของลูกค้า
RPA (Robotic Process Automation) ในงานการผลิต หมายถึง การใช้ซอฟต์แวร์อัตโนมัติเพื่อช่วยดำเนินงานที่มีรูปแบบซ้ำ ๆ หรือมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนในกระบวนการผลิต เช่น การจัดการข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพสินค้า และการวางแผนซัพพลายเชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาด และประหยัดเวลาในสายการผลิต
RPA เหมาะกับงานในกระบวนการผลิตที่มีลักษณะซ้ำ ๆ และต้องการความแม่นยำสูง เช่น:
RPA เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานอัตโนมัติในระบบดิจิทัล เช่น การจัดการข้อมูล การสร้างรายงาน หรือการวางแผนการผลิต
ในขณะที่หุ่นยนต์ในสายการผลิต (Robotic Arms) เป็นเครื่องจักรกลที่ใช้ในงานทางกายภาพ เช่น การประกอบชิ้นส่วน การบรรจุสินค้า หรือการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ
แม้ว่า RPA จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีข้อจำกัด เช่น:
ในบางกรณี การปรับปรุงระบบอาจจำเป็นหากโครงสร้างเดิมไม่รองรับการทำงานร่วมกับ RPA อย่างไรก็ตาม RPA สมัยใหม่สามารถใช้งานร่วมกับระบบ ERP, MES หรือซอฟต์แวร์ที่มีอยู่เดิมได้อย่างราบรื่นโดยไม่ต้องปรับปรุงระบบมากนัก
RPA ไม่ได้เข้ามาแทนที่บุคลากร แต่ช่วยลดภาระงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ หรือใช้เวลามาก ส่งผลให้บุคลากรสามารถมุ่งเน้นไปที่งานเชิงวิเคราะห์ การวางแผน หรือการพัฒนานวัตกรรมในสายการผลิตแทน
ติดตามสถานะขนส่ง การทำใบจองเรือ จัดทำเอกสารนำเข้า-ส่งออก และกำหนดเส้นทาง RPA โลจิสติกส์
ช่วยตรวจสอบคุณภาพชิ้นส่วน และดึงข้อมูลจากเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งกับเครื่องจักร RPA โรงงาน
จัดการข้อมูลใช้ไฟ ตรวจสอบความผิดปกติของระบบไฟ รวบรวมข้อมูลจากแผงผลิต RPA ธุรกิจพลังงาน
อัปเดตจำนวนสินค้าในคลัง บันทึกสินค้าเข้า-ออก และส่งต่อข้อมูลกับฝ่ายต่างๆ RPA คลังสินค้า
ที่อยู่
43 อาคารไทยซีซี ทาวเวอร์ ชั้นที่ 11 ห้องเลขที่ 111
ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา
เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
Copyright © 2025 KSP AsiaFIN Co., Ltd. All Rights Reserved.