บทบาทสำคัญของ RPA คลังสินค้า ที่จะเข้ามาช่วยจัดการคลังสินค้าให้เป็นอัตโนมัติ โดยซอฟต์แวร์สามารถทำงานร่วมกับระบบจัดการคลังสินค้า และระบบต่างๆ ที่ใช้งานในคลังได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น การบันทึกข้อมูลสินค้าเข้า-ออกในระบบ WMS อัตโนมัติ อัปเดตสต็อกสินค้าแบบเรียลไทม์ ประสานงานและส่งต่อข้อมูลกับฝ่ายต่างๆ อัตโนมัติ เป็นต้น ซึ่งการทำงานของ RPA ไม่เพียงแค่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานได้อีกด้วย
เทคโนโลยี RPA (Robotic Process Automation) ถูกนำมาใช้ร่วมกับ ระบบจัดการคลังสินค้า (WMS) และ ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ลดข้อผิดพลาดจากการทำงานด้วยแรงงานมนุษย์ และปรับปรุงกระบวนการให้เป็นอัตโนมัติ นอกจากนี้ RPA ยังสามารถเชื่อมโยงกับ อุปกรณ์ IoT (Internet of Things) เพื่อรับข้อมูลแบบเรียลไทม์ ทำให้การติดตามสินค้าและการบริหารสินค้าคงคลังมีความแม่นยำมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำงานร่วมกับ หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomous Robots) ในการจัดเรียงและหยิบจับสินค้า รวมถึงเชื่อมต่อกับ ระบบจัดการการขนส่ง (TMS: Transportation Management System) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการขนส่งและกระจายสินค้าให้มีความคล่องตัวและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ระบบ WMS เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความสำคัญกับธุรกิจคลังสินค้าเป็นอย่างมาก ช่วยในการจัดการสินค้าในคลัง ทำหน้าที่บันทึกรายละเอียดการรับสินค้า การจัดเก็บสินค้า การหยิบจับสินค้า ติดตามสถานะสินค้า บรรจุสินค้าเตรียมจัดส่ง เป็นต้น ส่วน RPA จะมาช่วยให้ระบบ WMS ทำงานอัตโนมัติมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ การทำงานของระบบ WMS เป็นอัตโนมัติ นอกจากนี้สามารถส่งต่อข้อมูลระหว่างระบบ WMS กับระบบ ERP หรือระบบอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย และข้อมูลมีความแม่นยำสูง
RPA ERP 2 ระบบนี้มีฟังก์ชันการทำงานที่แตกต่างกัน แต่ถ้านำมาทำงานร่วมกัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับคลังสินค้า และแผนกอื่นเป็นอย่างมาก ERP คือระบบเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของบริษัทไว้ เช่น ข้อมูล Warehouse ข้อมูลการจัดซื้อ ข้อมูลการผลิต ข้อมูลบัญชี เป็นต้น ส่วนระบบ RPA จะช่วยให้ข้อมูลต่างๆ ถูกจัดเก็บในระบบ ERP โดยอัตโนมัติ ข้อมูลไม่เกิดการตกหล่น
IoT คืออุปกรณ์และเซ็นเซอร์ต่างๆ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ เช่น ติดตามตำแหน่งสินค้า เซ็นเซอร์อุณหภูมิ ตรวจจับการเคลื่อนไหว อุปกรณ์ตรวจจับการใช้ไฟฟ้าในคลังสินค้า ฯลฯ RPA ช่วยส่งต่อข้อมูลที่ได้จาก IoT ไปดำเนินการต่อ ตัวอย่างเช่น ได้รับข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ระบบจะทำการแจ้งเตือนไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรืออีกหนึ่งตัวอย่าง ให้ระบบปิดการทำงานของเครื่องจักรเมื่อไม่ได้ใช้งานตามเวลาที่กำหนด
หุ่นยนต์สำหรับคลังสินค้า
ตัวอย่างการใช้งานซอฟต์แวร์ร่วมกับหุ่นยนต์สำหรับคลังสินค้า RPA ทำหน้าที่สั่งการหุ่นยนต์ให้หยิบสินค้าตามคำสั่งซื้อที่มีรายการเข้ามาในระบบ WMS หรืออีกตัวอย่าง หุ่นยนต์นำสินค้าที่ได้จากฝ่ายผลิตเคลื่อนย้ายไปจัดเก็บบนชั้นตามลำดับ FIFO (เข้าก่อน-ออกก่อน)
01
อัปเดตสต็อกสินค้า เพื่อทราบจำนวนสินค้าในคลังแบบเรียลไทม์
02
ส่งต่อข้อมูลกันระหว่างคลังสินค้ากับฝ่ายการผลิต ฝ่ายจัดซื้อ และฝ่ายต่างๆ
03
บันทึกข้อมูลสินค้าเข้า-ออก ในสินค้าคงคลัง
04
สั่งงานหุ่นยนต์ และเครื่องจักรในคลังด้วยระบบ RPA
05
จัดทำรายงานการเคลื่อนไหวของคลังสินค้า
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม โปรแกรม RPA
RPA (Robotic Process Automation) คลังสินค้า คือระบบอัตโนมัติที่ใช้ซอฟต์แวร์บอทเข้ามาช่วยทำงานด้านโลจิสติกส์ เช่น การรับสินค้า, ตรวจสอบสต็อก, อัปเดตข้อมูลในระบบ ERP และประมวลผลคำสั่งซื้อ เพื่อลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพของคลังสินค้า
ได้ แม้ว่าจะเป็นคลังสินค้าขนาดเล็กก็สามารถใช้ RPA เพื่อช่วยลดงานที่ต้องทำซ้ำ เช่น อัปเดตสต็อกในระบบขายออนไลน์, ส่งอีเมลแจ้งเตือนลูกค้า หรือสร้างใบแจ้งหนี้อัตโนมัติ
ติดตามสถานะขนส่ง การทำใบจองเรือ จัดทำเอกสารนำเข้า-ส่งออก และกำหนดเส้นทาง RPA โลจิสติกส์
ช่วยตรวจสอบคุณภาพชิ้นส่วน และดึงข้อมูลจากเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งกับเครื่องจักร RPA โรงงาน
จัดการข้อมูลใช้ไฟ ตรวจสอบความผิดปกติของระบบไฟ รวบรวมข้อมูลจากแผงผลิต RPA ธุรกิจพลังงาน
ที่อยู่
43 อาคารไทยซีซี ทาวเวอร์ ชั้นที่ 11 ห้องเลขที่ 111
ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา
เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
Copyright © 2025 KSP AsiaFIN Co., Ltd. All Rights Reserved.