RPA ธุรกิจค้าปลีก

RPA ธุรกิจค้าปลีก

ยุคดิจิทัลในปัจจุบันธุรกิจ Retail ต้องประสบปัญหากับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว อีกทั้งการแข่งขันที่รุนแรง การใช้ RPA ธุรกิจค้าปลีก จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน เช่น การจัดการคำสั่งซื้อที่รวดเร็วและแม่นยำขึ้น, การจัดการสินค้าคงคลัง และจัดการสต็อกสินค้าแต่ละสาขาให้เป็นอัตโนมัติ รวมถึงการจัดการข้อมูลลูกค้าที่มีสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าระบบ RPA ช่วยจัดการกระบวนการทำงานต่างๆ ได้อย่างราบรื่น และยังช่วยลดความผิดพลาด ลดต้นทุนการดำเนินงานในระยะยาว

การใช้ RPA ในธุรกิจค้าปลีก

การดำเนินธุรกิจด้วยการใช้เทคโนโลยี Robotic Process Automation เป็นสิ่งที่องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่รวดเร็ว RPA จึงมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างคล่องตัว และรองรับการขยายตัวขององค์กร

เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจค้าปลีกด้วยซอฟต์แวร์ RPA

ระบบ RPA ใช้งานได้ดีกับธุรกิจค้าปลีกทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ, E-Commerce, ห้างสรรพสินค้า, Supermarket, ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่, หรือร้านค้าปลีกในรูปแบบขายส่ง (Warehouse Retailer) เป็นต้น ซอฟต์แวร์ RPA กำลังเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ธุรกิจค้าปลีกควรนำมาใช้ในยุคดิจิทัล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดต้นทุนให้กับ Retail เป็นอย่างมาก

เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจค้าปลีกด้วย RPA

การใช้งานในธุรกิจร้านสะดวกซื้อ

ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ไม่ว่าจะเป็น 7-Eleven, Tesco Lotus, Big C, Tops เป็นต้น สามารถใช้ระบบ RPA เพื่อช่วยลดงานที่ซ้ำซ้อน ลดข้อผิดพลาด ยกตัวอย่างเช่น ใช้ในการจัดการสินค้าคงคลัง, เก็บข้อมูลการขายและแบ่งหมวดหมู่สินค้าในร้านโดยอัตโนมัติ เป็นต้น

การใช้งานในธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดใหญ่

การใช้งานซอฟต์แวร์ในธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ประกอบไปด้วย Central, The Mall, Makro, HomePro, Index Living Mall เป็นต้น เพื่อช่วยจัดการคลังสินค้าทุกสาขาให้เป็นข้อมูลเรียลไทม์ และเชื่อมต่อข้อมูลกันอย่างไร้รอยต่อ หรือช่วยจัดการคำสั่งซื้อ ตรวจสอบสินค้า และออกใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้า นอกจากนี้ระบบยังสามารถช่วยงานธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ได้อีกมากมาย

การใช้งานในธุรกิจ E-commerce

ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ หรือขายสินค้าบนระบบ E-Commerce ตัวอย่างเช่น Shopee Lazada Tiktok เป็นต้น สามารถนำซอฟต์แวร์ RPA เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การประมวลผลคำสั่งซื้อจากลูกค้าให้เป็นอัตโนมัติ, การติดตามสถานะการจัดส่งสินค้าเพื่อแจ้งเตือนให้กับลูกค้าทราบแบบเรียลไทม์, เก็บข้อมูลลูกค้า หรือข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลการทำการตลาด, กระบวนการคืนสินค้าและคืนเงินให้กับลูกค้าอัตโนมัติ

ตัวอย่างธุรกิจค้าปลีกใช้ RPA

ตัวอย่างธุรกิจค้าปลีกใช้ RPA

ธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่รายหนึ่งในต่างประเทศ นำระบบ RPA มาช่วยจัดการสินค้าคงคลัง อัปเดตสินค้าในสต็อกแบบเรียลไทม์ เพื่อทราบความต้องการของสินค้าแต่ละรายการ หากสินค้ารายการไหนต่ำกว่าปริมาณที่กำหนด ระบบจะแจ้งเตือนไปยังพนักงานที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจ E-commerce รายหนึ่งในอเมริกา ต้องจัดการคำสั่งซื้อนับล้านชิ้นต่อวัน จึงนำระบบ RPA เข้ามาใช้จัดการคำสั่งซื้อให้เป็นอัตโนมัติ ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว และไม่มีข้อผิดพลาด ตั้งแต่รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าในระบบออนไลน์ ตรวจสอบสินค้าในคลัง จัดการเรื่องการชำระเงินของลูกค้า ไปจนถึงสร้างใบแจ้งหนี้อัตโนมัติ

ประโยชน์ RPA ธุรกิจค้าปลีก

  • ลดความผิดพลาดจากการดำเนินงาน เช่น งานที่ต้องกรอกข้อมูล หรืองานตรวจสอบคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยต้องอาศัยความแม่นยำในการทำงาน
  • ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานในระยะยาว และช่วยเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดี
  • บริการลูกค้าด้วยความรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถามผ่านแชทบอท ติดตามสถานะการจัดส่ง หรือการคืนสินค้าให้กับลูกค้า ช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างมาก
  • สามารถตรวจเช็คจำนวนสินค้าในสต็อกและตรวจเช็คสินค้าแต่ละสาขาได้โดยอัตโนมัติ ถ้าสินค้าต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด ระบบจะแจ้งเตือนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือสั่งสินค้ากับทาง Supplier อัตโนมัติ
  • RPA เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับธุรกิจ Retail รองรับการขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ RPA ธุรกิจค้าปลีก

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ RPA Accounting

  • ลดต้นทุนแรงงาน จากงานที่ซ้ำซ้อน
  • ลดเวลาในการดำเนินงาน เช่น อัปเดตข้อมูลสินค้า คำสั่งซื้อ
  • ลดข้อผิดพลาด (Human Error) โดยเฉพาะงานเอกสาร การออกใบกำกับภาษี
  • เพิ่มประสิทธิภาพการบริการลูกค้า เช่น การแจ้งสถานะสินค้าแบบอัตโนมัติ
  • เพิ่มความสามารถแข่งขัน โดยทำงานได้เร็วกว่า ถูกกว่า และแม่นยำ
  • เชื่อมต่อหลายระบบเข้าด้วยกันได้อัตโนมัติ เช่น Online Store + POS + ERP
  • ธุรกิจที่มี คำสั่งซื้อจำนวนมาก (Online, Offline)
  • ธุรกิจที่มี หลายช่องทางการขาย (Omni-Channel)
  • ธุรกิจที่มีการ อัปเดตข้อมูลบ่อย (เช่น ราคาสินค้า, โปรโมชั่น, สต๊อก)
  • ธุรกิจที่ต้องใช้ เอกสารจำนวนมาก (เช่น ใบกำกับภาษี, ใบส่งของ)
  • ธุรกิจที่ต้องการ ลดต้นทุนแรงงานซ้ำซ้อน
  • ได้ ธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่ขายของออนไลน์, หลายช่องทาง (Omni-Channel), ใช้ RPA ช่วย:
    • ดึงออเดอร์
    • อัปเดตสต๊อก
    • ออกใบเสร็จ
    • ตอบลูกค้า
  • เหมาะกับธุรกิจ SME ที่ต้องการโตโดยไม่เพิ่มคน
  • การอัปเดตรายการสินค้าในเว็บไซต์หรือ Marketplace (Shopee, Lazada)
  • การตรวจสอบและแจ้งเตือนสต๊อกสินค้า
  • การออกใบกำกับภาษีและใบเสร็จอัตโนมัติ
  • การวิเคราะห์ข้อมูลยอดขายแบบอัตโนมัติ
  • การจัดการโปรแกรมสมาชิกหรือ Loyalty Program

ตัวอย่าง RPA ในธุรกิจอื่น

RPA ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ช่วยจัดการทรัพย์สิน สัญญาเช่า จัดการข้อมูลลูกค้าธุรกิจ Real Estate เพิ่มเติม RPA อสังหาริมทรัพย์

RPA ในธุรกิจโรงแรม

ในธุรกิจโรงแรม

ช่วยจัดการการจองห้องพักในระบบ OTAs ขั้นตอนการเช็คอิน-เช็คเอาต์ เพิ่มเติม RPA โรงแรม

RPA ในธุรกิจร้านอาหาร

ในธุรกิจร้านอาหาร

ช่วยจัดการคำสั่งซื้อจากแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ สต็อกวัตถุดิบ ยอดขายสาขา เพิ่มเติม RPA ร้านอาหาร

RPA ในธุรกิจ E-Commerce

ในธุรกิจ E-Commerce

ช่วยอัปเดตข้อมูลสินค้าในอีคอมเมิร์ซ จัดการคำสั่งซื้อ การคืนเงินคืนสินค้า เพิ่มเติม RPA E-Commerce