RPA E-Commerce

RPA ในธุรกิจ E-Commerce

ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง การใช้ RPA E-Commerce กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และช่วยลดความผิดพลาดจากการทำงาน นอกจากนี้ยังช่วยยกระดับกระบวนการทำงานทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการข้อมูลสินค้า การประมวลผลคำสั่งซื้อ การจัดการการคืนสินค้า ไปจนถึงการรวบรวมข้อมูลการขายและจัดทำรายงานสรุปผลการขายแบบเรียลไทม์

E-Commerce คืออะไร

อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) คือ การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย การซื้อ-ขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ช่วยให้ผู้บริโภคสะดวก สามารถซื้อได้ทุกที่ทุกเวลา การที่ธุรกิจต่างๆ จะเข้าสู่การขายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซต้องเผชิญกับการจัดการปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น การพิจารณานำเทคโนโลยี RPA มาใช้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้

การประยุกต์ใช้ RPA กับงาน E-Commerce

RPA สามารถนำมาใช้งาน E-Commerce ได้หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการข้อมูล การดำเนินกระบวนการที่ทำซ้ำๆ หรือการให้บริการลูกค้า โดยเน้นการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความรวดเร็วและลดความผิดพลาด เช่น การเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลสินค้า การจัดการคำสั่งซื้อ การจัดการการคืนสินค้า หรือการทำรายงานสรุปยอดขายของแต่ละแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ยังช่วยมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ด้วยบริการที่รวดเร็ว

RPA เพิ่มหรืออัปเดตข้อมูลสินค้า

เพิ่มหรืออัปเดตข้อมูลสินค้า

การเพิ่มหรืออัปเดตข้อมูลสินค้าและราคาบนแพลตฟอร์มต่างๆ เป็นหนึ่งในงานที่สำคัญของธุรกิจ E-Commerce ซึ่งต้องใช้เวลาและไม่เกิดข้อผิดพลาด RPA สามารถช่วยให้การอัปเดตข้อมูลเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ทำงานด้วยความรวดเร็วและมีความแม่นยำสูง เช่น บอทดึงข้อมูลจาก Excel และอัปเดตลงในแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นต้น

จัดการคำสั่งซื้ออัตโนมัติ

การจัดการคำสั่งซื้อเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำ RPA สามารถจัดการขั้นตอนต่างๆ ได้ตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อ การยืนยันการชำระเงิน ไปจนถึงการสร้างใบปะหน้าจัดส่งสินค้า ระบบนี้จะช่วยลดเวลาและไม่เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน พร้อมทั้งเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า ยิ่งไปกว่านั้น RPA สามารถจัดการคำสั่งซื้อได้หลายช่องทาง

RPA จัดการคำสั่งซื้ออัตโนมัติ
RPA การจัดการการคืนสินค้าและการคืนเงิน

การจัดการการคืนสินค้าและการคืนเงิน

  • ตรวจสอบคำร้องขอการคืนสินค้าและนโยบายของบริษัทอัตโนมัติ เพื่อยืนยันว่าคำร้องขอการคืนสินค้านั้นถูกต้องตามหลักเกณฑ์
  • หลังจากได้รับการตรวจสอบจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง RPA ดำเนินการคืนเงินให้ลูกค้าอัตโนมัติ พร้อมทั้งอัปเดตสถานะการคืนเงินบนแพลตฟอร์มนั้นๆ

RPA ช่วยรวบรวมข้อมูลการขายและทำรายงานสรุป

โปรแกรม RPA สามารถรวบรวมข้อมูลการขาย และการทำโปรโมชั่นจากระบบ E-Commerce ต่างๆ เช่น Shopee, Lazada, Tiktok Shop หรือหลังบ้านเว็บไซต์ของบริษัทโดยอัตโนมัติตามเวลาที่กำหนด เช่น รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และจัดทำรายงานสรุปส่งอีเมลให้กับผู้บริหารอัตโนมัติ ช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามประสิทธิภาพการขายในช่วงเวลานั้นๆ ได้ทันที

RPA รวบรวมข้อมูลการขายและทำรายงานสรุป

ตัวอย่างการใช้ RPA ในธุรกิจ E-Commerce

บริษัท A ขายสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์ม E-Commerce การอัปเดตรายละเอียดและจำนวนสินค้าเป็นงานที่ต้องทำบ่อยครั้ง จึงนำ RPA มาดึงข้อมูลจากระบบภายในบริษัทและอัปเดตลงในแพลตฟอร์มโดยอัตโนมัติ ลดโอกาสความผิดพลาดและประหยัดเวลาในการจัดการข้อมูลสินค้า

บริษัท Z จำหน่ายเครื่องสำอาง เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาบนแพลตฟอร์ม E-Commerce โปรแกรม RPA จะตรวจสอบการชำระเงิน และสร้างใบส่งสินค้าอัตโนมัติ รวมถึงติดตามสถานะการจัดส่งสินค้าและแจ้งเตือนไปยังลูกค้า เพื่อให้ทราบถึงสถานะการจัดส่ง

ประโยชน์ของ RPA E-Commerce

  • ช่วยประหยัดเวลาในการบวนการทำงานต่างๆ ที่ใช้เวลานาน เช่น การจัดการคำสั่งซื้อ การอัปเดตข้อมูลสินค้า เป็นต้น
  • ลดความผิดพลาดในกระบวนการทำงานซ้ำๆ เช่น การอัปเดตจำนวนสินค้า การกรอกราคาสินค้า เป็นต้น
  • รองรับการทำงานหลายแพลตฟอร์ม เช่น Lazada, Shopee, Tiktok shop หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ
  • ปรับปรุงการบริการลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น การตอบคำถามที่รวดเร็วขึ้น การจัดส่งสินค้า หรืออัปเดตสถานะการจัดส่ง เป็นต้น
  • รองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น รองรับการเติบโตของธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
ประโยชน์ RPA ใน E-Commerce

คำถามที่พบบ่อยใน RPA อีคอมเมิร์ซ

ไม่จำเป็นต้องเป็นธุรกิจขนาดใหญ่เสมอไป แม้แต่ร้านค้าออนไลน์ขนาดเล็กก็สามารถเริ่มใช้ RPA ได้ โดยเริ่มจากงานเล็กๆ ที่ทำซ้ำทุกวัน เช่น การออกใบส่งของ หรือการกรอกข้อมูลลูกค้าบนระบบขนส่ง

ในระบบหลังบ้านของ E-Commerce มีงานจำนวนมากที่ต้องการความถูกต้องและเป็นงานที่ต้องทำซ้ำทุกวัน เช่น การจัดการสต็อก สร้างใบสั่งซื้อ การบันทึกข้อมูลลูกค้า หรือการรวบรวมข้อมูลยอดขาย การทำสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวเองหรือจ้างพนักงานไม่เพียงแต่สิ้นเปลืองเวลาและสิ้นเปลืองงบประมาณ และอาจจะยังมีความเสี่ยงในการผิดพลาด RPA สามารถเข้ามาทำหน้าที่เหล่านี้แทนมนุษย์ได้อย่างแม่นยำ ด้วยความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลจากหลายระบบโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น ERP, ระบบคลังสินค้า หรือเว็บไซต์ขายสินค้า ซึ่งช่วยให้กระบวนการทำงานไหลลื่นมากขึ้น ลดภาระพนักงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่มักขายของในหลายช่องทางพร้อมกัน เช่น เว็บไซต์ส่วนตัว Shopee, Lazada, Tiktok, Facebook หรือ Instagram และแต่ละแพลตฟอร์มก็มีระบบหลังบ้านที่แตกต่างกัน ซึ่งหากต้องอัปเดตข้อมูลสินค้า ราคาหรือสต็อกด้วยมือในทุกช่องทาง จะเสียเวลาและมีโอกาสผิดพลาดสูง RPA เข้ามาช่วยเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างแต่ละแพลตฟอร์มให้สอดคล้องกัน เช่น หากสต็อกลดลงจากคำสั่งซื้อใน Shopee ระบบ RPA สามารถอัปเดตสต็อกใน Lazada และบนเว็บไซต์พร้อมกันได้อัตโนมัติ หรือเมื่อมีโปรโมชั่นใหม่ ก็สามารถตั้งค่าการอัปเดตราคาสินค้าหลายช่องทางได้ในคราวเดียว ซึ่งช่วยให้การบริหารร้านค้าง่ายขึ้นมากและลดภาระการทำงานซ้ำซ้อนของทีมงาน

ตัวอย่าง RPA ในธุรกิจอื่น

RPA ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ในธุรกิจค้าปลีก

ช่วยในธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าขนาดใหญ่ (ร้านค้าส่ง) Supermarket เพิ่มเติม RPA ธุรกิจค้าปลีก

RPA ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ช่วยจัดการทรัพย์สิน สัญญาเช่า จัดการข้อมูลลูกค้าธุรกิจ Real Estate เพิ่มเติม RPA อสังหาริมทรัพย์

RPA ในธุรกิจโรงแรม

ในธุรกิจโรงแรม

ช่วยจัดการการจองห้องพักในระบบ OTAs ขั้นตอนการเช็คอิน-เช็คเอาต์ เพิ่มเติม RPA โรงแรม

RPA ในธุรกิจร้านอาหาร

ในธุรกิจร้านอาหาร

ช่วยจัดการคำสั่งซื้อจากแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ สต็อกวัตถุดิบ ยอดขายสาขา เพิ่มเติม RPA ร้านอาหาร