เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลด้วย RPA Excel โดย 2 ระบบนี้ทำงานร่วมกันสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบอื่นได้อย่างไร้รอยต่อ รวมถึงการจัดการข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำ ตัวอย่างเช่น การดึงข้อมูลจากหลายๆ ไฟล์ มารวมเป็นไฟล์เดียว, ดึงข้อมูลจาก Excel ไปกรอกในระบบอื่น, สรุปรายงานข้อมูลธุรกิจ, ดึงข้อมูลมาสร้างใบเสนอราคา เป็นต้น RPA สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ทุกงานที่เกี่ยวข้องกับ Excel และเป็นลักษณะที่ทำซ้ำๆ เดิมๆ เช่น คีย์ข้อมูล, แก้ไขข้อมูล, ตรวจสอบข้อมูล, ดึงข้อมูลไปใช้ในระบบหรือเว็บไซต์ต่างๆ เป็นต้น กระบวนการทำงานเหล่านี้จะกลายเป็นอัตโนมัติ
การใช้งาน RPA เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง Excel กับระบบอื่นๆ เป็นตัวช่วยสำคัญที่เพิ่มความสะดวกและลดความซับซ้อนในการจัดการข้อมูลจากหลายระบบ ตัวอย่างที่น่าสนใจในการใช้งานได้แก่ รวมไฟล์ Excel หลายไฟล์เข้าไว้ในไฟล์เดียวโดยอัตโนมัติ, ดึงข้อมูลจาก Excel เพื่อนำไปกรอกลงในระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) แบบอัตโนมัติ, ดึงข้อมูลจากระบบ CRM (Customer Relationship Management) เพื่อสร้างใบแจ้งหนี้โดยอัตโนมัติ, สร้างกราฟสรุปข้อมูลทางการเงินของบริษัทได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
ดึงข้อมูลจาก Excel หลายไฟล์มารวมกันเป็นไฟล์เดียวด้วยระบบ RPA นอกจากนี้ยังสามารถดึงไฟล์จากหลายแหล่ง เช่น CSV SQL API และนำไฟล์เหล่านั้นมารวมกันเป็นไฟล์เดียวก็สามารถทำได้เช่นกัน
นอกจากการนำข้อมูลจาก ERP ไปกรอกใน Excel แล้ว RPA ยังสามารถดึงข้อมูลไปกรอกบนระบบ ERP ได้เช่นกัน ช่วยให้ข้อมูลถูกส่งต่อกันอย่างต่อเนื่อง ลดความผิดพลาดจากการกรอกข้อมูล Human Error ตัวอย่างข้อมูลที่ใส่ในระบบ ERP เช่น รายการสินค้า ข้อมูลการสั่งซื้อ ข้อมูลลูกค้า เป็นต้น
สร้างรายงาน สร้างกราฟจากข้อมูลที่ได้จากระบบบัญชี โดยการดึงข้อมูล รายรับ-รายจ่าย งบกำไรขาดทุนจากระบบบัญชีแล้วนำมา Pivot (สร้างกราฟ), จัดทำรายงานและส่งเมลให้กับผู้บริหารโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถกำหนดได้ว่าจะให้ระบบจัดทำทุกวัน หรือทุกสัปดาห์
ดึงข้อมูลลูกค้าจากระบบ CRM เพื่อสร้างใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ หรือเอกสารต่างๆ บนโปรแกรม Excel ข้อมูลที่ RPA ดึงมาใช้ ได้แก่ ชื่อผู้ติดต่อ รายละเอียดสินค้า ราคา เป็นต้น
คีย์ข้อมูลลง Excel อัตโนมัติ แต่ถ้าข้อมูลก่อนคีย์เป็นไฟล์รูปภาพ หรือไฟล์ PDF ที่ถูกสแกน จะต้องใช้ระบบ OCR แปลงรูปภาพหรือแปลงไฟล์ PDF ให้เป็นข้อความ Text ที่สามารถแก้ไขในคอมพิวเตอร์ได้ หลังจากนั้นระบบ RPA จะนำข้อมูลที่ได้จาก OCR มาคีย์ลงอัตโนมัติ
การนำระบบ RPA มาช่วยตรวจสอบข้อมูล สามารถทำได้อัตโนมัติ และเสร็จเร็วกว่าการตรวจเช็คด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น ตรวจข้อมูลว่าตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ไหม ถ้าไม่ตรงบอทจะแก้ไขข้อมูลได้ทันที จะเห็นได้ว่านอกจากงานเสร็จรวดเร็วแล้วยังช่วยลดความผิดพลาดได้อีกด้วย
นอกจากการคีย์ข้อมูล แก้ไขข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลแล้ว ระบบ RPA ยังสามารถทำงานร่วมกับสูตรต่างๆ ใน Excel ได้เป็นอย่างดี เช่น RPA ทำงานด้วยสูตร Vlookup โดยการดึงข้อมูลจากอีกไฟล์มาใส่ในไฟล์ที่กำหนดไว้ หรือ ทำงานด้วยสูตร SUM เพื่อหายอดรวมในและสรุปส่งให้กับผู้บริหารอัตโนมัติ
การใช้งานซอฟต์แวร์ RPA กับอุปกรณ์ IoT เพื่อให้ข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์นั้นๆ สามารถส่งต่อไปยังระบบอื่นได้โดยอัตโนมัติ รายละเอียดเพิ่มเติม RPA IoT
การประยุกต์ใช้ RPA ร่วมกับระบบ ERP ช่วยให้การกรอกข้อมูลหรือดึงข้อมูลจากระบบนี้สามารถทำได้โดยอัตโนมัติ รายละเอียดเพิ่มเติม RPA ERP
การทำงานร่วมกันระหว่างโปรแกรม RPA กับระบบ CRM ที่มีไว้สำหรับเก็บข้อมูลลูกค้า ช่วยให้ข้อมูลลูกค้ามีความแม่นยำ รายละเอียดเพิ่มเติม RPA CRM
ที่อยู่
43 อาคารไทยซีซี ทาวเวอร์ ชั้นที่ 11 ห้องเลขที่ 111
ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา
เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
Copyright © 2025 KSP AsiaFIN Co., Ltd. All Rights Reserved.