RPA ซัพพลายเชน

RPA ซัพพลายเชน

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระบบ Supply Chain ด้วย RPA ซัพพลายเชน ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดความผิดพลาดจากการทำงาน และเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า เทคโนโลยี RPA สามารถช่วยงานของ Supply Chain ได้หลายกระบวนการทำงาน ตัวอย่างเช่น ช่วยในกระบวนการจัดหาวัตถุดิบ ช่วยในขั้นตอนการผลิต ช่วยในการจัดการสินค้าคงคลัง และช่วยในกระบวนการกระจายสินค้า

การจัดหาวัตถุดิบด้วย RPA Supply Chain

ตรวจเช็คราคาและส่งอีเมลสอบถามซัพพลายเออร์แต่ละราย

สร้างใบสั่งซื้อ (PO) วัตถุดิบ หรือส่งใบสั่งซื้อไปยังซัพพลายเออร์โดยอัตโนมัติ ตามระดับหรือเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ติดตามสถานะการขนส่งวัตถุดิบแบบเรียลไทม์ และแจ้งเตือนหากเกิดความล่าช้า

ช่วยตรวจเช็คข้อมูลระหว่างใบรับสินค้ากับใบแจ้งหนี้ ว่ามีความถูกต้องตรงกันหรือไม่ และนำข้อมูลในใบแจ้งหนี้กรอกลงระบบ ERP ให้เป็นอัตโนมัติ ทำให้ขั้นตอนการจ่ายเงินและทางบัญชีในการจัดหาวัตถุดิบทำได้รวดเร็วและถูกต้อง

การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบด้วยการใช้ RPA ร่วมกับระบบอื่น เช่น ระบบ Machine Vision ตรวจสอบขนาดและรูปทรงความผิดปกติของวัตถุดิบ

ช่วยรวบรวมข้อมูลในการประเมินประสิทธิภาพของซัพพลายเออร์เป็นแบบอัตโนมัติ เช่น ปัญหาคุณภาพวัตถุดิบ การปฏิบัติตามข้อตกลง ระยะเวลาการจัดส่ง การจัดส่งตามเวลาที่กำหนด ความพร้อมในการจัดส่งวัตถุดิบ โดยไม่ต้องยุ่งยากในการเก็บข้อมูลของซัพพลายเออร์ด้วยคน

ช่วยในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตรวมถึงแนวโน้ม เพื่อใช้ในการพยากรณ์ความต้องการวัตถุดิบ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ

RPA ซัพพลายเชนในการจัดหาวัตถุดิบ

ประโยชน์ RPA Supply Chain ในการจัดหาวัตถุดิบ

  • ประสิทธิภาพดีขึ้น RPA ช่วยในการทำงานซ้ำๆ เช่น การป้อนข้อมูล การประมวลผลคำสั่งซื้อเป็นอัตโนมัติทำให้ทำงานได้รวดเร็ว
  • ช่วยลดข้อผิดพลาดในกระบวนการจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการอัตโนมัติทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น เช่นการบันทึกข้อมูลคำสั่งซื้อวัตถุดิบ
  • ลดเวลาในการตรวจเช็คสต็อกวัตถุดิบและติดตามสถานะการจัดส่งวัตถุดิบ เนื่องจากสามารถติดตามการจัดส่งและติดตามวัตถุดิบได้แบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถตรวจสอบระดับวัตถุดิบได้อย่างต่อเนื่อง และอัปเดทการบันทึกสต๊อกวัตถุดิบโดยอัตโนมัติ
  • ช่วยลดต้นทุนด้านแรงงานในกระบวนการจัดหาวัตถุดิบ รวมถึงลดวัตถุดิบส่วนเกินและของเสีย เนื่องจากวัตถุดิบมีมากเกินความต้องการ และไม่ได้ใช้งาน การป้อนข้อมูลและอัปเดทข้อมูลเป็นแบบอัตโนมัติ ทำให้ทราบถึงปริมาณวัตถุดิบในคลังสินค้าแบบเรียลไทม์
  • ด้วยกระบวนการจัดหาวัตถุดิบโดยใช้ RPA มาช่วยทำงานให้เป็นอัตโนมัติ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทำให้ สามารถรองรับปริมาณงานทีผันแปรเพิ่มขึ้นจากการจัดหาวัตถุดิบที่มีมากขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาคนเป็นจำนวนมาก

ตัวอย่าง RPA ช่วยจัดหาวัตถุดิบ

บริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมนี ใช้ระบบ RPA ในกระบวนการวางแผนความต้องการ การจัดซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ที่มีอยู่ทั่วโลก และจัดการวัตถุดิบในคลังสินค้าให้เป็นแบบอัตโนมัติ เช่น รวบรวมข้อมูลวัตถุดิบจาก Supplier หลายราย เพื่อนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบก่อนให้ระบบ RPA สร้างใบสั่งซื้อและส่งคำสั่งซื้อถึง Supplier และบันทึกข้อมูลปริมาณวัตถุดิบที่สั่งซื้อลงระบบเป็นแบบอัตโนมัติ

RPA ช่วยจัดหาวัตถุดิบ

RPA ซัพพลายเชนกับงานผลิต

RPA ซัพพลายเชนในขั้นตอนการผลิต

ทำให้การวางแผนการผลิตเป็นอัตโนมัติ โดยใช้ RPA รวบรวมข้อมูลประวัติการขาย จำนวนวัตถุดิบในคลังสินค้า และข้อมูลอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์ถึงความต้องการ และวางแผนการผลิตทั้งทางด้านตารางการผลิต การจัดสรรทรัพยากร

การตรวจสอบคุณภาพโดยใช้แรงงานคนเป็นจำนวนมากและอาจเกิดความผิดพลาด RPA ทำงานร่วมกับ Machine Vision ทำให้การควบคุมคุณภาพสินค้าเป็นแบบอัตโนมัติ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ตรวจสอบ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์ และสามารถระบุข้อบกพร่องหากสินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้เพื่อจะได้ดำเนินการตรวจสอบและแก้ไข

ช่วยในการรวบรวมและบันทึกข้อมูลการผลิต และทำรายงานข้อมูลการผลิต เช่น ปริมาณการผลิตของแต่ละรอบ เวลาที่ใช้ในการผลิต ประสิทธิภาพของเครื่องจักร จำนวนสินค้าที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อนำมาสร้างรายงานและตัวชี้วัดประสิทธิภาพการผลิต

ฝ่ายผลิตได้ประโยชน์จาก RPA ซัพพลายเชน

  • ช่วยให้ตัดสินใจได้รวดเร็วขึ้น ด้วยการรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์ และการรายงานเป็นแบบอัตโนมัติทำให้การจัดตารางการผลิตและการจัดสรรทรัพยากรทำได้รวดเร็วขึ้น ช่วยลดความล่าช้าในการผลิต
  • การควบคุมคุณภาพดีขึ้น เนื่องจากควบคุมคุณภาพได้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์กำหนดไว้
  • สามารถปรับขนาดการผลิตให้สอดคล้องต่อความต้องการของตลาดได้ง่ายขึ้น และรองรับการเปลี่ยนแปลงกรณีความต้องการในการผลิตนั้นเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องกังวลในการหาพนักงานเพิ่มขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น
  • การจัดสรรด้านกำลังคนทำได้ดีขึ้น ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน เช่น ไม่ต้องเสียเวลาบันทึกข้อมูล และพนักงานมีเวลาเหลือไปทำงานอื่นที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ
RPA ช่วยในการผลิต

ตัวอย่าง RPA ช่วยในการผลิต

บริษัทผลิตอาหารรายใหญ่ ใช้ RPA ช่วยป้อนข้อมูลลงในระบบจัดการการผลิต ติดตามประสิทธิภาพกระบวนการผลิต โดยส่งข้อมูลการผลิตให้ทราบแบบเรียลไทม์และแจ้งเตือนหากพบปัญหาผิดปกติในกระบวนการผลิตและสร้างรายงานอัตโนมัติใช้สำหรับการวิเคราะห์

RPA ซัพพลายเชนสินค้าคงคลัง

RPA จัดการสินค้าคงคลัง

อัปเดทจำนวนสินค้าที่อยู่ในสต็อกแบบเรียลไทม์ โดยนำข้อมูลปริมาณการผลิต และปริมาณการขายมาทำการอัปเดตจำนวนสินค้าในคลังสินค้าเป็นแบบอัตโนมัติ

แจ้งเตือนหากสินค้าในสต็อกต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อทางฝ่ายผลิตจะได้วางแผนการผลิต จัดสรรทรัพยากร และจัดตารางการผลิต เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า

RPA สามารถทำงานร่วมกับระบบบริหารจัดการคลังสินค้า (Inventory Management Software) เพื่อให้การจัดการคลังสินค้าทำงานอัตโนมัติมากขึ้น เช่นระบบ ERP, Warehouse Management, Order Management

ประโยชน์ RPA จัดการสินค้าคงคลัง

  • ข้อมูลสต็อกมีความถูกต้องแม่นยำ ลดการผิดพลาดที่อาจจะเกิดจากสต๊อกสินค้าไม่ถูกต้องทั้งในการบันทึกข้อมูลที่ผิดพลาดโดยคน และการบันทึกข้อมูลที่ล่าช้า
  • ช่วยลดงานด้านการจัดการคลังสินค้าที่ดำเนินการโดยคน ทำให้ต้นทุนด้านแรงงานลดลง และรองรับปริมาณสต๊อกสินค้าที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรด้านแรงงานเพิ่มขึ้น
  • ทำให้การทำงานในการจัดการคลังสินค้าทำได้รวดเร็วขึ้น เช่นการประมวลผลคำสั่งซื้อ การตรวจสอบ และการเติมสต๊อกสินค้า
  • เนื่องจาก RPA ช่วยให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ทำให้การตัดสินใจเกี่ยวกับสต๊อกสินค้าทำได้ถูกต้องขึ้นและรวดเร็วขึ้น

ตัวอย่างการจัดการคลังสินค้า

ผู้นำในธุรกิจอีคอมเมิร์ซรายหนึ่ง ใช้ระบบ RPA ทำงานร่วมกับระบบการจัดการคลังสินค้า ช่วยจัดการคำสั่งซื้อ เมื่อลูกค้าสั่งซื้อ RPA จะทำการอัปเดตข้อมูลในระบบการจัดการคลังสินค้า ตรวจสอบสินค้าคงคลังที่พร้อมส่งแบบเรียลไทม์ และทำงานร่วมกับระบบของผู้ให้บริการจัดส่งสินค้าเพื่อติดตามสถานะการจัดส่ง รวมถึงสร้างคำสั่งซื้อเพื่อจัดซื้อสินค้ามาเติมในสต๊อก

ซัพพลายเชนใช้งาน RPA ในการกระจายสินค้า

เทคโนโลยี RPA ช่วยจัดการการกระจายสินค้าให้เกิดความรวดเร็วและประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็น ลำดับความสำคัญการจัดส่ง จัดตารางและเส้นทางการจัดส่งสินค้า ติดตามสถานะการจัดส่งและอัปเดตสถานะและเวลาในการจัดส่งแบบเรียลไทม์ สร้างใบแจ้งการจัดส่งและฉลาก โดยการทำให้งานดังกล่าวเป็นอัตโนมัติ

RPA ซัพพลายเชนในการกระจายสินค้า

ประโยชน์ RPA ในการกระจายสินค้า

  • ประหยัดเวลาในการจัดส่งสินค้า เนื่องจากการวางแผนเส้นทางที่มีประสิทธิภาพ
  • เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า เนื่องจากสินค้าส่งถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และมีการอัปเดทสถานะแบบเรียลไทม์
  • ช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งจากการเช็คราคาผู้ให้บริการและนำมาเปรียบเทียบ หรือลดต้นทุนค่าขนส่งจากการวางแผนเส้นทางขนส่งหรือกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ

ตัวอย่าง RPA ซัพพลายเชนในงานโลจิสติกส์

ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายหนึ่ง ใช้ RPA จัดทำตารางการจัดส่งสินค้า กำหนดเส้นทางที่มีประสิทธิภาพ ติดตามสถานะการจัดส่งสินค้า อัปเดตข้อมูลให้กับลูกค้าและทีม Supply Chain ทราบตลอดเวลา โดยหากมีปัญหาในการกระบวนการโลจิสติกส์ ทีมซัพพลายเชนจะสามารถดำเนินการแก้ปัญหาได้ทันเวลา

คำถามที่พบบ่อยใน RPA Supply Chain

RPA เหมาะกับงานที่เป็น ขั้นตอนเดิมๆ ซ้ำๆ และ ต้องใช้ข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น

  • การตรวจสอบใบสั่งซื้อ: ดึงข้อมูลจากอีเมลหรือ ERP และตรวจสอบว่าข้อมูลถูกต้อง
  • การอัปเดตสินค้าคงคลัง: เชื่อมโยงข้อมูลจากคลังสินค้าและแสดงผลแบบเรียลไทม์
  • การติดตามการขนส่ง: ดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ขนส่งและอัปเดตสถานะอัตโนมัติ
  • การประสานงานกับซัพพลายเออร์: ส่งอีเมลแจ้งเตือนและอัปเดตข้อมูลการสั่งซื้อ

เริ่มจากงานที่ใช้แรงงานมากและมีความซ้ำซาก เช่น การป้อนข้อมูลใบสั่งซื้อ หรือการติดตามคำสั่งซื้อ

ได้ RPA สามารถทำงานร่วมกับระบบ ERP หรือ WMS ผ่าน API หรือการจำลองพฤติกรรมของมนุษย์ในการทำงานกับระบบนั้นๆ

ลดการใช้แรงงาน ลดข้อผิดพลาดที่อาจนำไปสู่ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น การสั่งซื้อผิดพลาด หรือการบริหารสินค้าคงคลังที่ไม่มีประสิทธิภาพ

  • RPA เหมาะกับงานที่มีโครงสร้าง แต่ไม่สามารถตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้เอง
  • หากข้อมูลหรือฟอร์แมตเอกสารเปลี่ยนแปลง อาจทำให้ RPA ทำงานผิดพลาด
  • ต้องมีการบำรุงรักษาและตรวจสอบกระบวนการ RPA อย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่าง RPA กับงานฝ่ายอื่น

RPA กับงานแผนกบุคคล

RPA กับงานบุคคล HR

ช่วยจัดการข้อมูลพนักงาน คำนวณค่าจ้าง อบรมและสรรหาพนักงาน รายละเอียด RPA ฝ่ายบุคคล

RPA กับงานแผนกจัดซื้อ

RPA กับงานจัดซื้อ

นำมาช่วยในกระบวนการทำงานจัดซื้อ เช่น จัดการใบสั่งซื้อ หรือตรวจเช็คสัญญา เพิ่มเติม RPA ฝ่ายจัดซื้อ

RPA กับงานฝ่าย IT

RPA กับงาน IT

ช่วยบริหารจัดการระบบ บัญชีผู้ใช้ ความปลอดภัย รวมถึง Helpdesk รายละเอียดเพิ่มเติม RPA IT