RPA กับงาน

RPA กับงาน

การใช้ RPA (Robotic Process Automation) กับงานแต่ละฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายจัดซื้อ แผนก HR ซัพพลายเชน งานบัญชี ฝ่ายขาย และการตลาด เป็นต้น เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้กับองค์กรนั้นๆ มีความแม่นยำและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์การทำงานที่มีประสิทธิภาพในยุคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยความสามารถของระบบ RPA จะช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ใช้เวลาจำนวนมากให้เสร็จเพียงไม่กี่นาที แต่งานต้องเป็นลักษณะทำซ้ำเดิม ให้เสร็จด้วยความรวดเร็วและประหยัดต้นทุนในระยะยาว

การนำ RPA มาใช้กับงานฝ่ายต่างๆ

ซัพพลายเชน

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระบบซัพพลายเชน

ฝ่ายจัดซื้อ

ลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อนในงานฝ่ายจัดซื้อ

แผนกบุคคล

แผนกบุคคลจัดการข้อมูลพนักงานด้วยความรวดเร็ว

บัญชี

ลดความผิดพลาดในการจัดการข้อมูลตัวเลขบัญชี

ฝ่ายขาย

เพิ่มความแม่นยำและรวดเร็วในการจัดการข้อมูลลูกค้า

การตลาด

เก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากหลายแหล่งด้วยความรวดเร็ว

ไอที

ลดความผิดพลาดในการจัดการข้อมูลตัวเลขบัญชี

การบริการลูกค้า

สามารถบริการลูกค้าได้ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง

ฝ่ายวิจัยและพัฒนา

รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลในงานฝ่าย R&D

งานกฎหมาย

จัดการเอกสารสัญญาให้ถูกต้องและแม่นยำ

RPA ในงาน Supply Chain

Supply chain

การนำบอทมาช่วยในกระบวนการทำงานซัพพลายเชน
(Utilizing bots to support supply chain processes)

RPA ในซัพพลายเชนเปรียบเสมือนเครื่องมืออัตโนมัติที่ช่วยจัดการงานติดตามสถานะสินค้า การตรวจสอบสินค้าคงคลัง และการประมวลผลคำสั่งซื้อ ช่วยให้กระบวนการทั้งหมดคล่องตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานด้านโลจิสติกส์ การผลิต คลังสินค้า หรือการจัดซื้อ นอกจากนี้ยังช่วยให้องค์กรปรับตัวและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

Procurement

ตัวอย่างกระบวนการทำงานของบอทในงานจัดซื้อ
(Example of bot workflow in the procurement department) 

  • เก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพวัตถุดิบ และการปฏิบัติตามเงื่อนไขของทางซัพพลายเออร์
  • จัดการเอกสารสัญญา
  • ติดตามการสั่งซื้อ และการจัดส่งวัตถุดิบ
  • แจ้งเตือนมาที่ฝ่ายจัดซื้อกรณีวัตถุดิบในสต็อกต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
  • สร้างคำสั่งซื้ออัตโนมัติ (Purchase Order)
  • จัดการใบเสนอราคาให้เป็นอัตโนมัติ
RPA ใช้ใน Procurement
RPA ใช้ใน HR

HR (Human Resource)

การนำบอทมาช่วยในกระบวนการทำงานของฝ่ายบุคคล
(The implementation of bots to support HR processes)

OrangeWorkforce สามารถช่วยจัดการงานทรัพยากรบุคคล เช่น การจัดการฐานข้อมูลพนักงาน การสร้างไอดีพนักงาน การจัดทำเงินเดือน รวมถึงงานทั่วไปอื่นๆ เช่น การย้ายไฟล์ ย้ายโฟลเดอร์ การคีย์ข้อมูลลงในแบบฟอร์มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบฟอร์มในรูปแบบไฟล์หรือออนไลน์ เปิดและตรวจสอบอีเมลพร้อมทั้งไฟล์แนบ การรวมข้อมูลออนไลน์ระหว่าง 2 ระบบ เป็นต้น

Accounting

กระบวนการทำบัญชีและการบันทึกบัญชีอัตโนมัติ
(Automated accounting and bookkeeping processes)

  • บัญชีลูกหนี้ (Account Receivable)
  • บัญชีเจ้าหนี้ (Account Payment)
  • บัญชีแยกประเภท (General Ledger)
  • การกระทบยอด (Reconciliation)

โดยการออกใบแจ้งหนี้ ใบแจ้งยอดบัญชี บันทึกรายงานแจ้งยอดบัญชี กระบวนการบัญชีเจ้าหนี้ การสร้างใบสำคัญจ่าย (การเคลมของพนักงาน) และการจัดส่งอีเมลอัตโนมัติ

การใช้ RPA in Accounting
การใช้ RPA กับ Sales

SELLING

กระบวนการดำเนินงานทางการขายสินค้าให้เป็นแบบอัตโนมัติ
(Sales operation process automation)

  • การจัดการสินค้าคงคลัง การอัปเดตสต็อกในระบบ
  • การป้อนข้อมูลในระบบ ERP
  • การสั่งสต็อกไปยังซัพพลายเออร์
  • กระบวนการใบแจ้งหนี้
  • กระบวนการชำระเงิน
  • กระบวนการจัดส่ง ได้แก่ การอัปเดตวันที่จัดส่งใน Sale Order ให้เป็นอัตโนมัติ
  • การกระทบยอดรหัสผลิตภัณฑ์

MARKETING

กระบวนการวางแผนทางการขายและการตลาดให้เป็นระบบอัตโนมัติ
(Sales planning and marketing process automation)

  • การเก็บข้อมูล การอัปเดตข้อมูลลูกค้า
  • การแชร์ข้อมูลระหว่างฝ่ายขายและแผนกการตลาด
  • การทำ E-marketing เช่น ส่งข้อมูลแคมเปญ การแจ้งเตือนข้อมูลโซเชียลมีเดียให้แก่ลูกค้า
  • การโพสต์ตามกำหนดเวลาบนช่องทางโซเชียล
  • การวิเคราะห์การขาย และการรายงาน ได้แก่ การกำหนดเวลาให้บอทไปดึงข้อมูลจากระบบ POS และนำมาทำรายงานขาย เพื่อเปรียบเทียบยอดขาย แต่ละสาขา
  • ส่งข้อมูลจากแพลตฟอร์มขายสินค้าไปยังระบบบริหารจัดการคลังสินค้า
  • การกรอกข้อมูลรายการสินค้าลงในแพลตฟอร์มขายสินค้า
  • การโอนข้อมูลลูกค้าไปยังแผนก CRM
การใช้ RPA Marketing
RPA กับงาน IT

IT

การนำบอทมาช่วยในกระบวนการทำงานของฝ่ายไอที
(The implementation of bots to support IT department operations)

  • การติดตั้งและอัปเดตซอฟต์แวร์อัตโนมัติ
  • การสำรองข้อมูลในช่วงเวลาที่กำหนด
  • การ Reset รหัสผ่านอัตโนมัติ
  • บอทช่วยจัดการบัญชีผู้ใช้งาน
  • ตรวจสอบความผิดปกติในระบบ
  • ตรวจสอบสถานะอุปกรณ์ IoT

Customer Service

ตัวอย่างการทำงานของบอทในงานบริการลูกค้า
(Example of bot workflow in the customer service department)

  • การตอบคำถามลูกค้าอัตโนมัติ ผ่านช่องทางอีเมลหรือแชทบอท
  • บันทึกข้อมูลการร้องเรียนจากลูกค้า
  • รวบรวมความคิดเห็นลูกค้าจากหลายแหล่ง
  • การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เช่น การรีเซ็ตรหัสผ่าน
  • การจัดการเคสเร่งด่วน และส่งแจ้งเตือนไปยังทีมที่เกี่ยวข้อง
RPA กับงาน Customer Service
RPA กับงาน IT

Research and Development

ตัวอย่างกระบวนการทำงานของบอทในงานฝ่ายวิจัยและพัฒนา
(Example of Bot Workflow in the Research and Development (R&D) Department)

  • รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อใช้ในการศึกษาแนวโน้ม
  • ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและทำการลบข้อมูลที่ซ้ำอัตโนมัติ
  • เก็บบันทึกผลการทดลองและจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล
  • สร้างรายงานอัตโนมัติจากผลการทดลอง
  • นำข้อมูลที่รวบรวมมาสร้างคู่มือการใช้งานหรือเอกสารการทดลอง