โปรแกรม RPA

โปรแกรม RPA

การใช้งานโปรแกรม RPA ในองค์กร เปรียบเสมือนการมีพนักงานที่สามารถจัดการงานประจำที่ต้องทำซ้ำๆ ตามรูปแบบเดิมๆ มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน มีปริมาณมาก และใช้เวลาในการดำเนินการยาวนานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการข้อมูล การย้ายไฟล์และโฟลเดอร์ การกรอกข้อมูลลงในระบบหรือแบบฟอร์ม การตรวจสอบข้อมูลการจัดทำรายงาน การแจ้งเตือนอัตโนมัติ รวมถึงการเปิดและตรวจสอบไฟล์แนบในอีเมล เป็นต้น งานลักษณะนี้มักทำให้องค์กรต้องสูญเสียเวลาทำงานจำนวนมาก ระบบนี้จะช่วยเปลี่ยนงานเหล่านี้ให้เป็นกระบวนการอัตโนมัติ เพิ่มความเร็วในการทำงาน ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน ลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดของมนุษย์ เนื่องจากกระบวนการทำงานมีความแม่นยำและราบรื่นมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ RPA ยังช่วยคืนเวลาสำหรับงานที่มีมูลค่าสูง พนักงานมีเวลาไปโฟกัสกับงานที่ต้องใช้การตัดสินใจ ความคิดสร้างสรรค์ และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ได้มากขึ้น หรือมีเวลาไปทำงานหลัก เช่น พนักงานขายนำเวลาไปพบลูกค้า ซึ่งจะส่งเสริมการพัฒนาและการเติบโตขององค์กรธุรกิจ และเพิ่มยอดขายแทนที่จะใช้เวลาไปกับงานประจำที่ซ้ำซาก

โปรแกรม OrangeWorkforce

เทคโนโลยี OrangeWorkforce เป็นโปรแกรม RPA ที่พัฒนาโดย OrangeFIN Asia มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีและเป็นผู้นำอันดับต้นๆ ในประเทศมาเลเซีย ซึ่ง OrangeWorkforce สามารถควบคุมการทำงานของระบบใดก็ได้จากทุกที่ เพียงตั้งค่าคำสั่งและการเชื่อมต่อที่ถูกต้อง ช่วยเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจในอุตสาหกรรมใดๆ ให้เป็นระบบอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัท KSP AsiaFIN ผู้ให้บริการโปรแกรม OrangeWorkforce ในประเทศไทย เป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มบริษัท Greenpro KSP ในประเทศไทย และบริษัท OrangeFIN Asia ในประเทศมาเลเซีย ในการพัฒนาโปรแกรม OrangeWorkforce ให้ตอบโจทย์การใช้งานในธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทยด้วยราคาที่เหมาะสมกับธุรกิจและองค์กรในภูมิภาคเอเชีย แต่ยังคงประสิทธิภาพการทำงานที่ทัดเทียมกับผู้ให้บริการรายอื่น OrangeWorkforce จึงเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าและเหมาะสมสำหรับการนำโปรแกรมที่ทำงานอัตโนมัติมาใช้ในองค์กร

96

%

93

%

89

%

88

%

ตัวอย่างการใช้โปรแกรม RPA ในธุรกิจ

ตัวอย่างกระบวนการทำงานของธุรกิจที่ใช้โปรแกรม RPA ของทาง OrangeWorkforce สามารถดำเนินการ โดยทำให้เป็นระบบอัตโนมัติ เพื่อช่วยธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ แก้ปัญหาด้านแรงงาน ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน และลดข้อผิดพลาดในงาน

  • การจัดการการผลิต: ตรวจสอบจำนวนวัตถุดิบในระบบ ERP, การดำเนินการสั่งผลิตแบบอัตโนมัติ, จัดทำรายงานข้อมูลการผลิตในแต่ละวัน
  • การควบคุมคุณภาพ: ตรวจสอบคุณภาพในการผลิต, บันทึกความผิดปกติในกระบวนการผลิต
  • การจัดการบำรุงรักษา: แจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดการบำรุงรักษาเครื่องจักร, แจ้งเตือนหากเครื่องจักรมีความผิดปกติ
  • การติดตามสถานะการขนส่ง: การติดตามการขนส่งแบบเรียลไทม์, แจ้งเตือนสถานะการขนส่งผ่านทางอีเมลหรือข้อความ
  • การบริหารจัดการข้อมูลการขนส่ง: บันทึกข้อมูลการขนส่งลงในระบบอัตโนมัติ, รวบรวมข้อมูลการขนส่งเพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพ
  • การบริหารจัดการใบสั่งขนส่ง: จัดการเอกสารและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารขนส่ง, จัดการเอกสารใบขนสินค้าและใบชำระภาษีกับศุลกากร
  • การจัดการค่าบริการขนส่ง: ดึงข้อมูลจากผู้ให้บริการขนส่งหลายราย, เปรียบเทียบค่าบริการกับเงื่อนไขของแต่ละราย
  • การจัดการสินค้าคงคลัง: ตรวจสอบจำนวนสินค้าในสต็อกโดยอัตโนมัติ, บันทึกรายละเอียดสินค้าเข้า-ออกใน Warehouse
  • การจัดการคำสั่งซื้อ: ดึงข้อมูลคำสั่งซื้อจากระบบต่างๆ มาบันทึกลงในระบบภายใน, ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องของคำสั่งซื้อ
  • การจัดการข้อเสนอพิเศษให้กับลูกค้า: ตรวจสอบการใช้โปรโมชั่นของลูกค้า, สร้างรายงานผลลัพท์จากแคมเปญโดยอัตโนมัติ
  • การจัดการการเคลมประกัน: เก็บรวบรวมข้อมูลการเคลมประกันลงในระบบโดยอัตโนมัติ, ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและเงื่อนไขการเคลม
  • การจัดการข้อมูลลูกค้า: ช่วยจัดการข้อมูลลูกค้าธนาคาร ลูกค้าประกันภัย และข้อมูลลูกค้าสินเชื่อ
  • การจัดการ Compliance: ตรวจสอบนโยบายบริษัทกับข้อกฎหมาย, แจ้งเตือนไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้องหากมีการละเมิด
  • การประมวลผลและอนุมัติสินเชื่อ: รวบรวมข้อมูลจากเอกสารการสมัครของลูกค้า หากข้อมูลตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด โปรแกรมจะอนุมัติสินเชื่อโดยอัตโนมัติ
  • การตรวจสอบและติดตามการชำระเงิน: อัปเดตสถานะการชำระเงินในระบบโดยอัตโนมัติ แจ้งเตือนลูกค้าหากครบกำหนดวันชำระเงิน
  • การประเมินความเสี่ยง: ดึงข้อมูลเครดิตของลูกค้าสินเชื่อจากแหล่งต่างๆ, ประเมินความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ RPA ในธุรกิจ

โปรแกรม RPA ในธุรกิจ

การนำโปรแกรม RPA มาใช้ในกระบวนการทำงาน

การใช้โปรแกรมกับงานในแผนกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แผนกบัญชี ฝ่ายจัดซื้อ แผนกบุคคล การตลาด ฝ่ายขาย Supply Chain เป็นต้น ช่วยจัดการงานที่มีกระบวนการทำงานชัดเจน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มีความแม่นยำ และช่วยไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด

โปรแกรม RPA กับงานแผนก งานฝ่าย
  • การบันทึกบัญชีอัตโนมัติ: คีย์ข้อมูลทางการเงินลงในโปรแกรมบัญชี หรือระบบอื่นๆ
  • กระทบยอดบัญชีอัตโนมัติ: ดึงข้อมูลจากธนาคารมาเปรียบเทียบกับบัญชีแยกประเภท หากข้อมูลไม่ตรงกันระบบจะทำการแจ้งเตือนให้ทราบ
  • การจัดการใบแจ้งหนี้: ดึงข้อมูลในใบแจ้งหนี้ และทำการบันทึกข้อมูลในลงในระบบบัญชี หรือระบบ ERP โดยอัตโนมัติ
  • ติดตามสถานการสั่งซื้อ: ช่วยติดตามสถานะการจัดส่งสินค้าของทางซัพพลายเออร์ หากล่าช้ากว่าที่กำหนด ระบบจะทำการแจ้งเตือน
  • เปรียบเทียบราคา: ดึงข้อมูลซัพพลายเออร์จากในระบบ ERP เพื่อมาเปรียบเทียบราคาและเงื่อนไขต่างๆ
  • ตรวจสอบวัตถุดิบ: ตรวจเช็คจำนวนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หากต่ำกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ ระบบจะแจ้งเตือนมายังฝ่ายจัดซื้อ
  • การจัดการข้อมูลพนักงาน: อัปเดตข้อมูลพนักงานในระบบ HR อัตโนมัติ โดยดึงข้อมูลเอกสาร
  • การจัดทำเงินเดือนอัตโนมัติ: ดึงข้อมูลการเข้างาน-ออกงาน การขาด ลา มาสาย เพื่อคำนวณการจ่ายเงินเดือน
  • การฝึกอบรมพนักงาน: จัดตารางการฝึกอบรม แจ้งเตือนวันฝึกอบรมแก่พนักงาน และส่งแบบประเมินการฝึกอบรม

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ RPA กับงาน

โปรแกรม OrangeWorkforce กับระบบต่างๆ

โปรแกรม OrangeWorkforce ทำงานร่วมกับระบบอื่น

โปรแกรม OrangeWorkforce สามารถทำงานร่วมกับระบบอื่นๆ ได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มความรวดเร็ว และลดข้อผิดพลาดในการดึงข้อมูล การบันทึกและการเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบต่างๆ เช่น ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP), Customer Relationship Management (CRM), ระบบ HR, Warehouse Management System (WMS), Transportation Management System (TMS), และ Microsoft 365 (Excel, PowerPoint, Word, Outlook) รวมถึงโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมาย

รายละเอียดเพิ่มเติมในการใช้ RPA กับระบบต่างๆ

RPA กับยุค Digital Transformation

ในยุคที่โลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในองค์กรคือกุญแจสำคัญของความสำเร็จ องค์กรที่ปรับตัวได้รวดเร็วจะได้รับความได้เปรียบในการแข่งขันและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ซอฟต์แวร์ RPA จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ

หัวใจสำคัญที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในยุคปัจจุบันคือ การเปลี่ยนแปลงอนาคตขององค์กรด้วย Digital Transformation การนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ การเปลี่ยนผ่านนี้ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ที่แน่วแน่และการตัดสินใจที่เด็ดขาด ตั้งแต่การลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสม การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้เปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆ ไปจนถึงการสร้างประสบการณ์ที่เหนือความคาดหวังของทางลูกค้า

ประโยชน์ของการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล

Digital Transformation คือ

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Digital Transformation คือกระบวนการที่องค์กรนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุคดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่เพียงแค่ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน แต่อาจจะปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานภายในองค์กรอีกด้วย

ประโยชน์ของการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล

  • การนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรเพื่อความสะดวกและลดเวลาการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น Slack ใช้สำหรับส่งข้อความให้กับทีม แชร์หน้าจอระหว่างประชุม, Trello ใช้สำหรับจัดการงาน ติดตามความคืบหน้า เป็นต้น
  • ข้อมูลจำนวนมากจะถูกเก็บเพื่อนำมาวิเคราะห์ วางกลยุทธ์การทำงาน และใช้ AI คาดการณ์พฤติกรรมผู้บริโภค
  • การขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ E-Commerce ช่วยให้ลูกค้าจากทั่วโลกเข้าถึงสินค้าของเรา
  • ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานด้วยระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม หรือ โปรแกรม RPA โดยนำมาทำงานที่ซ้ำซ้อน มีขั้นตอนชัดเจน
  • เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าด้วยบริการที่รวดเร็ว สร้างความพึงพอใจในการเสนอสินค้าหรือบริการ

องค์ประกอบของ Digital Transformation

องค์ประกอบหลักของ Digital Transformation สามารถแบ่งออกเป็น 4 ข้อได้ดังนี้ กระบวนการ บุคลากร เทคโนโลยี และกลยุทธ์ โดยแต่ละส่วนล้วนมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อองค์กรอีกด้วย

องค์ประกอบของ Digital Transformation

กระบวนการ

ตัวอย่างการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • ระบบอัตโนมัติ (Automation) การใช้หุ่นยนต์หรือซอฟต์แวร์ในกระบวนการต่างๆ เช่น การป้อนข้อมูล, ตรวจสอบข้อมูล, แก้ไขข้อมูล เป็นต้น
  • RPA (Robotic Process Automation) ระบบที่สามารถทำงานในกระบวนการซ้ำเดิม กระบวนการที่มีหลักการทำงานชัดเจน

บุคลากร

หนึ่งในอุปสรรคที่ต้องเผชิญคือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงานในองค์กร ซึ่งพนักงานจำเป็นต้องปรับตัวและพร้อมเรียนรู้กับเทคโนโลยีใหม่ๆ ความพร้อมในการเรียนรู้ไม่เพียงแค่ช่วยให้พนักงานทำงานได้มีประสิทธิภาพ แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้องค์กรได้เปรียบในการแข่งขันในยุคดิจิทัล

เทคโนโลยี

หัวใจสำคัญคือ การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับองค์กรนั้นๆ ตัวอย่างเช่น การใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปข้อมูล, อุปกรณ์ IoT (Internet of Things) เซ็นเซอร์ในระบบเพื่อสร้างข้อมูลแบบเรียลไทม์, Cloud เพื่อจัดเก็บข้อมูลไว้ในที่ที่ปลอดภัยขึ้นและเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกง่ายดาย

กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยเป้าหมายและแผนงานชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนระยะยาวเพื่อให้ถึงเป้าหมาย, การจัดลำดับความสำคัญของงาน, การปรับกลยุทธ์ตามแนวโน้มของตลาด ปรับตามความต้องการของลูกค้า เป็นต้น

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

ในอดีต 7-Eleven (ประเทศไทย) ขายสินค้าผ่านหน้าร้านเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันผสมผสานช่องทางออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน ปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่

ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้นำเทคโนโลยี Internet of Things และระบบอัตโนมัติอย่างเช่น Robotic Process Automation มาใช้ในการตรวจสอบเครื่องจักรแบบเรียลไทม์ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

การเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วย RPA

เปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยซอฟต์แวร์ RPA

ปัจจุบันซอฟต์แวร์ RPA กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนแปลงองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิทัล ยกระดับกระบวนการทำงานซ้ำเดิมให้เป็นอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น การประมวลผลข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล แก้ไขข้อมูล จัดการคำสั่งซื้อ เป็นต้น ผลลัพธ์ที่ได้คือความรวดเร็วในการทำงาน ความแม่นยำที่ไม่เกิดข้อผิดพลาด และต้นทุนการดำเนินงานลดลงในระยะยาว

งานวิจัยเกี่ยวกับโปรแกรม RPA

ขั้นตอนการบริการระบบ RPA

กระบวนการให้บริการของ KSP AsiaFIN เริ่มต้นจากการนัดหมายพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าในการนำโปรแกรมอัตโนมัติไปใช้ในกระบวนการทำงานขององค์กร หลังจากได้ข้อสรุปและข้อมูลจากลูกค้า ทาง KSP AsiaFIN จะทำการศึกษากระบวนการทำงาน วางแผน เขียนขั้นตอนการทำงาน และเขียนสคริปต์เพื่อตั้งค่าการทำงานของบอท รวมถึงทำการทดสอบสคริปต์

เมื่อขั้นตอนทั้งหมดเสร็จสิ้น จะมีการแสดงกระบวนการทำงานโดยบอทให้แก่ลูกค้า จากนั้นลูกค้าจะทำการทดสอบการใช้งาน (UAT) ก่อนการส่งมอบซอฟต์แวร์อย่างสมบูรณ์เพื่อให้ลูกค้าเริ่มใช้งานได้อย่างมั่นใจ

1. ปรึกษาเพื่อทราบรายละเอียดของงานเบื้องต้น

นัดหมายพูดคุยเกี่ยวกับข้อมูลของงาน ส่วนงาน ประเภทงาน ขั้นตอนงาน พร้อมทั้งรายละเอียดของงานเบื้องต้น ในส่วนงานที่ลูกค้าต้องการให้ระบบอัตโนมัติ OrangeWorkforce เข้าไปช่วยทำงาน

ปรึกษารายละเอียดงาน
จัดเตรียมข้อมูลและรายละเอียดงาน

2. ลูกค้าจัดเตรียมข้อมูลและรายละเอียดของงาน

ลูกค้าจัดเตรียมรายละเอียดขั้นตอน เอกสาร และวีดีโอเกี่ยวกับกระบวนการทำงานที่ต้องการให้ OrangeWorkforce เข้าไปช่วยดำเนินการ

3. ประเมินวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน

ทางบริษัทประเมินวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน ตามเอกสาร วีดีโอ และข้อมูลที่ได้รับจากทางลูกค้า เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้เหมาะสมที่สุด

ประเมินวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน
การกำหนดค่าคำสั่งการทำงาน

4. กำหนดค่าคำสั่งการทำงานของซอฟต์แวร์

ทางบริษัทจะทำงานร่วมกับลูกค้าในการกำหนดค่าคำสั่งการทำงานของซอฟต์แวร์ให้ทำงานตามกระบวนการและได้ผลลัพธ์ตามที่ลูกค้าต้องการ

5. ทดสอบกระบวนการทำงาน

การทดสอบการทำงานจะดำเนินการโดยผู้กำหนดค่าคำสั่ง (ผู้เขียนสคริปต์) และร่วมทดสอบโดยผู้ใช้งาน (UAT) เพื่อให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ทำงานได้อย่างถูกต้อง

การทดสอบการยอมรับของผู้ใช้
การส่งมอบระบบให้ลูกค้า

6. ส่งมอบระบบให้ลูกค้า

กำหนดวันเริ่มต้นใช้งานและส่งมอบระบบ RPA ของทาง OrangeWorkforce ให้แก่ลูกค้า พร้อมให้คำแนะนำการใช้งาน เพื่อให้ซอฟต์แวร์เริ่มดำเนินการตามกระบวนการทำงานตามที่ได้กำหนดค่าคำสั่งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้า

ติดต่อขอรับคำปรึกษาบริการ

สำหรับท่านใดที่สนใจ RPA ต้องการนำไปช่วยในกระบวนการทางธุรกิจของท่าน สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาบริการระบบได้ที่ โทร 084-324-2749 หรือ LINE ID: @kspasiafin ทางเรา KSP AsiaFIN มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญ และทีม Support จากต่างประเทศ ไม่เพียงเท่านั้นโปรแกรม RPA จาก OrangeWorkforce ได้รับรางวัลที่ประเทศมาเลเซียเป็นการการันตีคุณภาพ อีกทั้งยังมีลูกค้าบริษัทชั้นนำในประเทศมาเลเซียอีกมากมาย

บริการอื่นที่น่าสนใจ

บริการแนะนำ ระบบ OCR

เทคโนโลยีอัจฉริยะช่วยดึงข้อมูลจากเอกสารสแกน หรือไฟล์รูปภาพ โปรแกรม OCR

คำถามที่พบบ่อย

โปรแกรม RPA (Robotic Process Automation) ที่ช่วยให้องค์กรสามารถใช้ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์เพื่อทำงานที่ซ้ำซ้อนและใช้เวลานานโดยอัตโนมัติ เช่น การป้อนข้อมูล การตรวจสอบเอกสาร และกระบวนการทางธุรกิจอื่นๆ

  • รองรับการทำงานร่วมกับระบบเดิมขององค์กรโดยไม่ต้องแก้ไขโครงสร้าง
  • ใช้งานง่ายผ่านอินเทอร์เฟซที่เป็นมิตรกับผู้ใช้
  • มีความสามารถในการจัดการเวิร์กโฟลว์ที่ซับซ้อนได้
  • รองรับการประมวลผลแบบ Cloud และ On-Premise ตามความต้องการ

ได้ ระบบสามารถเชื่อมต่อกับ ERP, CRM, ระบบบัญชี, ระบบ HR, Microsoft Excel, SAP และแอปพลิเคชันอื่น ๆ ผ่าน API หรือการทำ UI Automation

Orangeworkforce รองรับ No-Code / Low-Code ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้สามารถออกแบบกระบวนการอัตโนมัติได้โดยไม่ต้องมีทักษะการเขียนโปรแกรม หรือสามารถใช้ Custom Script เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในกรณีที่ต้องการ

ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของกระบวนการที่ต้องการทำอัตโนมัติ โดยทั่วไป สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ภายในไม่กี่วัน หากเป็นกระบวนการพื้นฐาน แต่ถ้าเป็นระบบขนาดใหญ่ อาจใช้เวลาในการออกแบบและปรับแต่งเพิ่มเติม

ได้ ระบบรองรับการ OCR (Optical Character Recognition) เพื่อดึงข้อมูลจากเอกสาร PDF หรือรูปภาพ และนำไปประมวลผลต่อโดยอัตโนมัติ

Facebook
LinkedIn
x.com